ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว อำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจ, อำเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรีบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด และเปรียบเทียบความคิดเห็นส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจการท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีโดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางจากถิ่นพำนักของตนไปยังสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งไม่ใช้เพื่อประกอบอาชีพที่จุดหมายปลายทางของตนเอง จำนวน 385 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบไปด้วยด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวน ตามลำดับและ 2) นักท่องเที่ยวที่มีระดับการศึกษา ให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนนักท่องเที่ยว ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งผลของการวิจัยในครั้งนี้จะช่วยสร้างแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดสร้างความยั่งยืนให้กับท่องเที่ยวอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรีได้อีกด้วย
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แนวโน้มธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นจาก https://thai.tourismthailand.org/home.
กนกวรรณ แสนชมพู. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวน้ำตกเก้าชั้น อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
จิตพิสุทธ์ หงส์ขจร. (2560). ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2556). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2556). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปรียารัตน์ ยอแซฟ. (2553). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำคลองลัดพลี อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).
เพ็ญนภา เพ็งประไพ. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรมของเกาะ
พะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2556). การตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ละเอียด ศิลาน้อย และสุภาวดี สุทธิรักษ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษาสวนสละอาทิตย์ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2), 47-59 47-59.
วิธาน จีนาภักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่ออุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครรินทร์วิโรฒ).
ศุภชาติ เอี่ยมรัตนกูล. (2557). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงดาว.
ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอสวนผึ้ง. (2562). ข้อมูลอำเภอสวนผึ้ง เข้าถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.oic.go.th/
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นจาก http://www.thailandtourismcouncil.org/.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุวภาพ ประภาสวัสดิ์. (2554). ทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบวันเดียว ณ หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร. (การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2551). การจัดการผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Gaspareniene, L., & Remeikiene, R. (2016). Economic and demographic characteristics of the subjects, operating in digital shadow economy. Procedia Economics and Finance, 39, 840-848.
Kotler, P. (2003). Marketing Management. (11th ed.). New York: Macmillan Publlishing Company.
Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (2000). Consumer behavior. (7th ed.). Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ