การพัฒนามาตรฐานสหกรณ์ ของสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน(ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
การพัฒนามาตรฐานสหกรณ์, มาตรฐานทางการเงิน, มาตรฐานสหกรณ์, สหกรณ์ออมทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ ช่วงปี 2557-2561 2) เปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ ประจำปี 2561 เทียบกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานทางการเงิน 3) พัฒนามาตรฐานทางการเงินของสหกรณ์ให้ได้มาตรฐาน 4) ศึกษามาตรฐานการดำเนินงานและกระบวนการบริหารจัดการภายในของสหกรณ์ ประจำปี 2561 และ 5) พัฒนามาตรฐานการดำเนินงานและกระบวนการบริหารจัดการภายในสหกรณ์ให้ได้มาตรฐานในระดับดีเลิศ โดยการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดตามทฤษฎี CAMELS Analysis และ peer group ใน 6 มิติ ประกอบด้วยอัตราส่วนทางการเงิน จำนวน 20 อัตราส่วน และข้อมูลจากเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ 7 ข้อ ประกอบด้วยการวัดผลการดำเนินงานของสหกรณ์ และกระบวนการบริหารจัดการภายในสหกรณ์ จำนวน 137 ข้อ ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตราส่วนทางการเงินของสหกรณ์ ช่วงปี 2557-2561 มิติที่ 1 อัตราการเติบโตทุนของสหกรณ์ และประสิทธิภาพในการหาผลตอบแทนต่อส่วนของทุนต่ำลง มิติที่ 2 นำสินทรัพย์ไปสร้างรายได้ ผลตอบแทนเพื่อให้เกิดกำไรลดลง และอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ต่ำลง มิติที่ 3 อัตราการเติบโตของธุรกิจลดต่ำลง มิติที่ 4 อัตราการเติบโตของทุนสำรอง และอัตรากำไรสุทธิต่ำลง มิติ 6 สมาชิกลาออกสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ยลดลง 2) การเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานทางการเงิน พบว่า มิติที่ 1 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราการเติบโตทุนของสหกรณ์ และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของสหกรณ์ มิติที่ 2 อัตราหมุนของสินทรัพย์ และอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 3 อัตราการเติบโตของธุรกิจต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มิติที่ 4 อัตรากำไรต่อสมาชิก เงินออมต่อสมาชิก อัตราการเติบโตของทุนสำรอง และอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3) สหกรณ์ต้องพัฒนาด้านอัตราการเติบโตทุนของสหกรณ์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุน อัตราหมุนของสินทรัพย์ อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ สหกรณ์ควรเพิ่มปริมาณธุรกิจ เพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุน ยึดหลักสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล และควรเน้นธุรกิจที่ให้บริการสมาชิกเป็นหลัก 4) มาตรฐานการดำเนินงานและกระบวนการบริหารจัดการภายใน อยู่ในระดับดีมาก ได้ 92.60 คะแนน และ 5) การพัฒนามาตรฐาน สหกรณ์ควรดำเนินธุรกิจการรับฝากเงิน และพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
References
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2542). พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2553). การจัดการความเสี่ยง, สืบค้นจาก http://office.cpd.go.th/dacfg/images/24may2559/fm/km_risk.pdf
กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครปฐม. (2559). การบริหารความเสี่ยงในสหกรณ์. กรมส่งเสริมสหกรณ์.
กลุ่มวิจัยและพัฒนาสหกรณ์นอกภาคการเกษตร กองพัฒนาสหกรณ์ด้านการเงินและร้านค้า. (2561). คำแนะนำสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล. กรมส่งเสริมสหกรณ์.
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2548). คู่มือการประยุกต์ใช้ CAMELS Analysis การวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตร. กรุงเทพมหานคร : กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
ณัฐพัชร์ ผาก่ำ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการออมทรัพย์ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์หน่วยบัญชาการทหารอากาศโยธินจำกัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ผกาทิพย์ ฤทธิ์ชู. (2560). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์นครหาดใหญ่ จำกัด จังหวัดสงขลา. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
ศิรินธิรา สาแมหาดี. (2559). ผลกระทบของคุณภาพการควบคุมภายในที่มีผลต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ภาคการเกษตรในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงราย. (2560). แนวทางพัฒนาสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายที่ไม่ผ่านมาตรฐานให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน.
สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด. (2544). ข้อบังคับสหกรณ์ พ.ศ. 2544. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด
. (2557). รายงานกิจการประจำปี 2557. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด.
. (2558). รายงานกิจการประจำปี 2558. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด.
. (2559). รายงานกิจการประจำปี 2559. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด.
สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด. (2560). รายงานกิจการประจำปี 2560. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด.
สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด. (2561). รายงานกิจการประจำปี 2561. สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานแคนนอน (ประเทศไทย) จำกัด.
พจน์ วัฒนวิเชียร รังสรรค์ สิงหเลิศ สุวกิจ ศรีปัดถา และเกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ .(2552). การพัฒนาการดำเนินงาน ของสหกรณ์การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(3), 35-44
อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ. (2560). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย. รายงานวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Dash, M., & Das, A. (2009). A CAMELS analysis of the Indian banking industry. Available at SSRN 1666900.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ