ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วัชระ ยี่สุ่นเทศ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ทศพร มะหะหมัด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • เยาวลักษณ์ แซ่เลี่ยง มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การขนส่งสำหรับการท่องเที่ยว, ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการ, ธุรกิจการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในคุณภาพ การให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) อิทธิพลของปัจจัยการขนส่งสำหรับ การท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยว และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 332 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ และการทดสอบความสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวของธุรกิจการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การใช้สิ่งของที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเอาใจใส่การให้บริการ ความสะดวกสบายของช่องทางติดต่อ ช่วงเวลาในการให้บริการ และการให้บริการของว่างและเครื่องดื่มบนยานพาหนะมีผลต่อระดับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยว สุดท้าย ปัจจัยการขนส่งสำหรับการท่องเที่ยวของธุรกิจการท่องเที่ยว ประกอบด้วยความสะดวกสบายของช่องทางติดต่อ การเอาใจใส่การให้บริการ การให้บริการของว่างและเครื่องดื่ม บนยานพาหนะ ช่วงเวลาในการให้บริการ และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ต่อระดับ ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของธุรกิจการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). แผนปฏิบัติการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 7 ก.ค. 2562 เข้าถึงได้จาก https://portal.tourismthailand.org/fileadmin/downloads/pdf/แผนปฏิบัติการณ์ของ-ททท-ปี2562-ฉบับสมบูรณ์.pdf

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล. (2556). การศึกษาประสิทธิภาพระบบการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวเกาะสีชังจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 5, 74-79.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 234-259.

อุษณี กองรักษเวช. (2555). การเปรียบเทียบคุณภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศมาเลเซียและไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี).

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John wiley & Sons.

Gajewska, T. & Grigoroudis, E. (2015). Importance of logistics services attributes influencing customer satisfaction. IEEE International Conference on Advanced Logistics and Transport (ICALT).

Lumsdon, L., & Page, S. J. (2004). Tourism and Transport: Issues and Agenda for the New Millennium. London: Elsevier.

Parasuraman, A.& Zeithaml, Valarie A. and Berry, Leonard L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Parasuraman, A. & Zeithaml, Valarie A. and Berry, Leonard L. (1988). SERVQUAL: A multi-item scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Parasuraman, A. & Zeithaml, Valarie A. and Berry, Leonard L. (1990). Delivering Quality Service – Balancing Customer Perception and Expectation. New York: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30