จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก

คำสำคัญ:

จารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ, นายกรัฐมนตรี

บทคัดย่อ

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้มีต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งการปกครองระบบรัฐสภานั้น ในลำดับแรกเป็นที่ทราบว่า ระบบรัฐสภาเป็นระบบที่พัฒนามาจากรูปแบบการปกครองดั้งเดิมที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้มีและใช้พระราชอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ และรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรที่ได้เขียนขึ้นในระยะแรก ๆ ของระบบรัฐสภาของประเทศในยุโรปนั้น เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อยอมรับระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศในเวลานั้น โดยการปกครองที่เรียกว่า “ระบบรัฐสภา” (Parliamentary System) ที่เริ่มต้นอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ได้ถูกจำลองดัดแปลงไปประยุกต์ใช้กับการปกครองของประเทศ ของตน โดยมีการจัดตั้งคณะบุคคลให้เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารที่เรียกว่า คณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าของรัฐมนตรีที่เรียกว่า “นายกรัฐมนตรี” ดังที่ทราบกันว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร และมีธรรมเนียมปฏิบัติหรือจารีตประเพณีในทางรัฐธรรมนูญ และถือว่าจารีตประเพณีนั้นเป็นบ่อเกิดของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ซึ่งรวมถึงแนวปฏิบัติในทางรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

ดังนั้นแล้ว บทความฉบับนี้จึงมุ่งเสนอถึงจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของประเทศอังกฤษ โดยส่วนแรกกล่าวถึง ความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ของตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของประเทศอังกฤษ ส่วนที่สองกล่าวถึงการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษในรูปแบบปกติ และส่วนสุดท้ายกล่าวถึง การเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรูปแบบพิเศษ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนั้นมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ในทางการเมืองการปกครองที่น่าสนใจหลายประการ

References

กิตติศักดิ์ หนูชัยแก้ว. (2560). การใช้จารีตประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ศึกษากรณีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

คณิน บุญสุวรรณ (2522). การเมืองการปกครองของอังกฤษ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

เจษฎา พรไชยา. (2546). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี ศิริจันทพันธ์. (2521). ประวัติศาสตร์อังกฤษสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พูนศักดิ์ วรรณพงษ์. (2538). พระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ไทย. กรุงเทพฯ: เค.พี.พริ้นติ้ง.

ไพโรจน์ ชัยนาม. (2554). นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำต้องมาจากรัฐสภาเพียงใด. ใน 100 ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม: หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานรำลึก ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2554. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนูญ บริสุทธิ์. (2527). คณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.

วิษณุ เครืองาม. (2550). ถอดความจากเทปการอภิปราย เรื่อง พระมหากษัตริย์ไทยและต่างประเทศในระบอบประชาธิปไตย. ใน การสัมมนาวิชาการเรื่อง พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย. วันที่ 25 พฤษภาคม 2550. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2529). การเมืองการปกครองสหราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิชช พันธเศรษฐ. (2512). ชุมนุมนายกรัฐมนตรีอังกฤษ หนังสือประวัติศาสตร์การเมืองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษ ตั้งแต่ พ.ศ. 2265 ถึง พ.ศ. 2512 (248 ปี). กรุงเทพฯ: พิทักษ์วัฒนา.

อมร จันทรสมบูรณ์. (2537). คอนสติติวชั่นแนวลิสม์ (Constitutionalism): ทางออกประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายการศึกษา.

อมรรัตน์ กุลสุจริต. (2541). ประมุขของรัฐในระบบรัฐสภา: ศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกรณีของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Birch, A. H. (1968). The British System of Government. 2nd ed. London: Simson Shand, 1968.

Bogdanor, V. (1995). The Monachy and the Constitution. Oxford: Clarendon Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-30