ส่วนประสมการตลาดที่มีผลในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • จามีกร คำเทียน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • กนกวรรณ แสนเมือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ชัชวาล แสงทองล้วน วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, โทรศัพท์มือถือ, จังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดราชบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อส่วนประสมการตลาดที่มีผลในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่ซื้อหรือเคยซื้อโทรศัพท์ เคลื่อนที่ในเขตจังหวัดราชบุรี ไม่เกิน 3 ปี จำนวน 400 คน ทำการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบความแตกต่าง รายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่แบบพหุคูณของฟิชเชอร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมการตลาดที่มีผลในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ส่วนประสมการตลาดในแต่ละด้านอยู่ในลำดับมากเช่นกัน โดยสามารถเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ และ 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาและอาชีพแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตจังหวัดราชบุรีในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และระดับรายได้ต่อเดือน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตจังหวัดราชบุรีในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

กัณญ์ญณัฏฐ์ ภิรมย์สุข. (2561, เมษายน 25).แม่ค้าขายสินค้าออนไลน์. สัมภาษณ์.

จันทรรัตน์ แก้วล้อม. (2561, เมษายน 27). เจ้าหน้าที่การเงิน. วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. สัมภาษณ์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารา ทีปะปาล และนวัฒน์ ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

ธนกฤต สรกฤตยาเมธ. (2561, เมษายน 26).ครู วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. สัมภาษณ์.

ธวีพงศ์ สิทธิธัญกิจ. (2555). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน : กรณีศึกษาเขตบางเขน. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโทรคมนาคม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

บัญชา รัศมี. (2551). ปัจจัยในการเลือกซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต).

พรรณวิภา พ่วงจีน. (2555). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่เทคโนโลยี 3G ของผู้บริโภคในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกริก).

เพ็ญศรี เขมะสุวรรณ และภควดี เลิศกาญจนวิวัฒน์. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

โพสต์ทูเดย์. (2561). กสทช.เผยปี 60 คนไทยใช้เน็ตผ่านมือถือกว่า 3 พันล้านกิกะไบท์. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก https://www.posttoday.com/it/546699. วันที่ค้นข้อมูล : 23 เมษายน 2561.

วัชราภรณ์ วงศ์แจ้ง. (2561, เมษายน 26). ครู วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง. สัมภาษณ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สายฝน เกิดไก่แก้ว. (2555). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยปทุมธานี).

สุนัน นิลพวง. (2556). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี).

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การตลาดจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ ขจรเทวาวงศ์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนตราสินค้าจีนของผู้บริโภคคนไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สำนักงาน กสทช. (ม.ป.ป.). รายงานสภาพตลาดโทรคมนาคม ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2560. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.nbtc.go.th/Services.aspx. วันที่ค้นข้อมูล : 25 เมษายน 2561.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). จำนวนและร้อยละของประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไป จำแนกตามการมี

การใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ภาค จังหวัดและเขตการปกครองปี พ.ศ.2552-2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://statbbi.nso.go.th/ วันที่ค้นข้อมูล : 25 เมษายน 2561

สำนักวิชาการและจัดการทรัพยากรโทรคมนาคม. (2559). รายงานดัชนีชี้วัดในกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ประจำปี 2559-2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.nbtc.go.th. วันที่ค้นข้อมูล : 25 เมษายน 2560.

เสาวภาคย์ วิปุโร. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

เหมือนแพร จงสดับกลาง. (2561, เมษายน 27).ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว. สัมภาษณ์.

อิสดาริส วาดี และคณะ. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือของนักศึกษาภาคในเวลามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการจัดการทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30