ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ดิศพงษ์ จิตร์บำรุง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ปิรันธ์ ชิณโชติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • เขตรัฐ พ่วงธรรมรัตน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ, การลงทะเบียนเรียน, วิทยาลัยเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามลักษณะพื้นฐานประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1-3 และระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงชั้นปีที่ 1-2 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 287 คน การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่าดัชนีความสอดคล้องคือ 0.78 และค่าความเชื่อมั่นคือ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเซฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิคในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านลักษณะทางกายภาพ และ ด้านส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลาน เข้าเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค จำแนกตามลักษณะพื้นฐานประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ปกครองที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในภาพรวมแตกต่างกัน ในขณะที่ผู้ปกครองที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกันมีความคิดเห็น ต่อปัจจัยการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา มักเชียว. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนโชติกาญจน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การบริการลูกค้า Customer Service. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิชชิ่ง.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2555). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เฉลิมพล พลมุข. (2561). การศึกษาของชาติ. ค้นเมื่อพฤษภาคม 3, 2561, จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=50699&Key=news_research.

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา. (2558). การตลาดบริการ: แนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นคร ผ่องใส. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในเขตพื้นที่นอกบริการในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จังหวัดพะเยา. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

นพรัตน์ ภูมิวุฒิสาร. (2558). การจัดการการตลาด Marketing Management. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.

พงษ์ศักดิ์ จิตรพันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกโรงเรียนอาชีวศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง).

พัชรีรัตน์ เอี่ยมบรรจง. (2558). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยเทคโนโลยีอโยธยาบริหารธุรกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 5 (2), 155-160.

พิณฑิรา มะวัน. (2554). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอาชีวศึกษาจุลมณี อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต).

มนัส วงศ์ประดู่. (2561), พฤษภาคม 30. การประชุมครูประจำปีการศึกษา 2561.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2556). การตลาดบริการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุจิพร เจริญศรี. (2559). การส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น.

วอยซ์ทีวี. (2558). ‘เรียนไม่ตรงสาย’ ปัญหาใหญ่ตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 14, 2561, จาก http://www.voicetv.co.th/read/202284.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2560). ข้อมูลสถานศึกษาปีการศึกษา 2560 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 3, 2561, จาก http://techno.vec.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สถิติการศึกษาประจำปี 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สืบสกุล สร้อยศรีขำ. (2552). ปัจจัยของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนสาครวิทยา จังหวัดสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง).

สุนทรี เลิศสุวรรณ. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ ชั้นปีที่ 6 จังหวัดราชบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30