การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • วิญญู พันธ์โต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • ทศพร มะหะหมัด มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การจัดการการท่องเที่ยว, วัฒนธรรมเชิงบูรณาการ

บทคัดย่อ

านวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวและการจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยใช้ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent Sample T-test และ One-way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.20 อายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 54.80 ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 53.60 สถานภาพของพลเมือง เป็นประชากรในเขตจังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 66.80 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ทั้งด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อมีการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์แตกต่างกัน ในขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวด้านเพศ สถานภาพของพลเมือง และอายุ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงบูรณาการ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กนกเกล้า แกล้วกล้า, วารัชต์ มัธยมบุรุษ, ละเอียด ศิลาน้อย และ สันติธร ภูริภักดี. (2560). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนครชัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 23-39.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). การดำเนินการเพื่อกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศน์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.

ชูชาติ ไชยสมบัติ, สุธีร์ นนทภา, สุนันทา เอี่ยมสำอาง และ เปรมปรีดิ์ หมู่วิเศษ. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยว ในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง: กรณีศึกษาประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 7(2), 1-16.

ดลยา จาตุรงคกุล และ อดุลย์ จาตุรงกุล, (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธันยา พรหมบุรมย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรม และสุขภาพ ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ของประเทศไทย: เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 71-87.

นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 31-50.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2539). “มารู้จักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศกันเถิด” การท่องเที่ยว, 18(1), 60.

ผู้จัดการ ONLINE. (2559). “เพชรบูรณ์ – พิษณุโลก” งามประทับใจดอกไม้สายหมอก “เขาค้อ-ภูหินฯ” สุดฟินหุบเขาสีชมพู ที่ “ภูลมโล”. ไทย. (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx?NewsID=9590000006525. 20 มกราคม 2559.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร, ภาคภูมิ ภาควิภาส และ ธนกฤต บุญรังสี. (2557). การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบสร้างสรรค์ของชุมชนบนพื้นที่สูง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่: สวนกุหลาบ. (ปริญญานิพนธ์งานวิจัยตีพิมพ์งานสร้างสรรค์ และงานบริการวิชาการสู่ชุมชนประจาปี พ.ศ. 2557, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่).

ศรีวราพร คำอ่อง, ชัชชัย สุจริต และ รดี ธนารักษ์ (2554). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 1(1), 138-147

สมบัติ กาญจนกิจ. (2544). นันทนาการและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชน อินทเสม. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์: กรณีศึกษาตำบลปากน้ำปราณ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 10-23.

Choeichuenjit, W., & Sapsanguanboon, W. (2014). Foreign tourists’ demand on Thai cultural tourism supply chain. Journal of Thai Hospitality and Tourism, 9(2), 74-85.

Csapo, J. (2012). The role and importance of cultural tourism in modern tourism industry. In Strategies for tourism industry-micro and macro perspectives. InTech. 201-232

Kasamsuk, S., Bodthongtim, M., & Sookprung, W. (2018). Identity and cultural tourism business model for pilgrimage routes cultural in Ubon Ratchathani Province: A case of tour business. Suthiparithat, Special Issue, 223-234

Lord, B. (2002). Cultural tourism and museums. LORD Cultural Resources Planning and Management Inc.

Udomlak Pengnorapat. (2017). The Strategies for the Development of the Cultural Tourism Potentiality in Sisaket Province. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 12(1), 28-43

UNESCO. (2004). Baltic Cultural Tourism Policy Paper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31