ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัศนีย์ ทองศิลป์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ด้วยตนเอง, การถดถอยพหุคูณ, การจำแนกกลุ่ม, ความแปรปรวนพหุคูณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยภายใน ภายนอก และศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ภายนอกตัวบุคคล ที่มีผลต่อศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการจำแนกกลุ่มความสามารถในการเรียนของนักศึกษา และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัจจัยภายในและภายนอกจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 809 คน ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสม กลุ่มสาขาวิชา ปัจจัยภายในบุคคล ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน ความคาดหวังในอนาคต ปัจจัยภายนอกบุคคล ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน และการให้บริการของสถานศึกษา ตัวแปรตาม คือ ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกลุ่มความสามารถในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามารถในการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต และการให้บริการของสถานศึกษา โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนและบรรยากาศในชั้นเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายโดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ตัวแปรทุกคู่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และความคาดหวังในอนาคตสามารถทำนายศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (R2=53.0%, Adj.R2 =52.9%) การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มความสามารถในการเรียน พบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต บรรยากาศในชั้นเรียน และการให้บริการสถานศึกษา อธิบายการเป็นสมาชิกกลุ่มได้ร้อยละ 87.8 (hit rate internal =93.9%, external= 93.7%) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 นอกจากนี้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคาดหวังในอนาคต ศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้บริการสถานศึกษากลุ่มวิศวกรรม - วิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มมนุษย์-สังคม และสูงกว่ากลุ่มวิจิตรศิลป์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ .01 แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแปรบรรยากาศในชั้นเรียนไม่พบนัยสำคัญของการทดสอบ

References

น้อมฤดี จงพยุหะ และเจริญใจ บุญขทัย. (2516). คู่มือการศึกษาวิชาหลักการสอน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มิตรสยาม.

ประกิตศรี เผ่าเมือง. (2546). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้น ม.3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จ.นนทบุรี โดยวิเคราะห์พหุระดับ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พัชรี มะแสงสม. (2543). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

เมธี ธรรมวัฒนา (2543). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

สรรรัชต์ ห่อไพศาล. (2551). การเรียนรู้แบบนำตนเอง. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Guglielmino, L. M. (1978). Development of the self-directed learning readiness scale. Doctoral dissertation, ProQuest Information & Learning.

Hajiar, S. T. (2014). A statistical study to develop a reliable scale to evaluate instructors within higher institution. WSEAS Transactions on Mathematics, 13, 885-894.

Hiemstra, R. (1998). Self-directed learning. In T. Husen and T. N. Postlethwaite. The International Encyclopedia of Education (second edition). Oxford: Pergamon Press.

Maas, C. J. M., & Hox, J. J. (2005). Sufficient Sample Sizes for Multilevel Modeling. Methodology: European Journal of Research Methods for the Behavioral and Social Sciences, 1, 85-91.

McClelland, D. C. (1961). The achieving society. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-08-31