การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวไทยต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, นักท่องเที่ยว, ชายหาดหัวหินบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท 2) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท 3) ลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเข้าพักโรงแรมและรีสอร์ท โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 350 ชุดโดยใช้ตารางสุ่มของทาโร่ยามาเน่ เลือกกลุ่มตัวอย่างชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวบริเวณชายทะเลหัวหินและใช้บริการโรงแรมในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมพบว่าส่วนใหญ่เป็นชาย อายุต่ำกว่า 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นเจ้าของกิจการ มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท สถานภาพสมรส ภูมิลำเนาจากกรุงเทพ มาท่องเที่ยวสนใจโรงแรมที่พักติดทะเล ระดับ 5 ดาว พักห้องมาตรฐาน ราคาต่อคืนประมาณ 6,000 บาทขึ้นไปมาเพื่อการท่องเที่ยว เข้าพักจำนวน 2 คืน ระบบการจองตามเว็บไซต์ของโรงแรม จำนวนเข้าพักจำนวนคนเดียวและให้ความสำคัญการพักกับครอบครัว การศึกษาความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมของที่พักพบว่ามากสุด รองลงมาให้ความสำคัญกับความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าพัก จากลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการเข้าพักมีผลต่อการเข้าพักโรงแรมในการวิจัยในครั้งนี้ โดยเฉพาะลักษณะห้องพัก ระบบการจอง ราคาที่พักและระดับดาว ทำให้นักท่องเที่ยวไทยมีแรงจูงใจในการเข้าพักโรงแรมในอำเภอหัวหิน จากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงแรมทำให้นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการเข้าพักแตกต่างกัน กลุ่มลักษณะบุคคลที่ต้องมีการปรับปรุงการบริหารให้ความพึงพอใจเข้าพักโรงแรมเพิ่มขึ้น โดยเพศหญิง อายุต่ำกว่า 30 ปี ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีพรับราชการ รายได้ตั้งแต่ 15,001-30,000 บาท สถานภาพโสด ภูมิลำเนากรุงเทพ ที่มีพฤติกรรมชอบพักติดทะเล พักระดับต่ำกว่า 3 ดาว ที่พักห้องครอบครัว ระดับราคาห้องพักตั้งแต่ 4,501- 6,000 บาท มาเพื่อประชุมสัมมนา มาพัก 1 วัน ระบบจองทางโทรศัพท์ มาพักเป็นกลุ่ม 6 คน มีความพึงพอใจเข้าพักแตกต่างกันในระดับความพอใจมากกว่ากลุ่มลักษณะส่วนบุคคลอื่น
References
ชดากร สถิต. (2558).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวไทยในการเลือกที่พักแรมเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 227-236
ลลิดา ยุรยาตร์. (2555). ปัจจัยที่มีต่อการเลือกเข้าพักรีสอร์ทในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วัฒนา ทนงค์แผง. (2550). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานบริการโรงแรมที่พักขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วิภา วิวัฒนพงศ์ชาติ. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเพชรบุรี. คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิเชฐ คูหเพ็ญแสง. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบริเวณชายหาดจังหวัดระยอง. ส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อเนก สวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีต่อโรงแรมขนาด 3 ดาว ในเขตกรงเทพมหานคร. จิตวิทยาบริการ. กรุงเทพฯ: อดุลพัฒนกิจ.
อัปษรศรี ม่วงคง.(2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจ โดยรวมของลูกค้าที่มาใช้บริการภัตตาคางลอยน้ำเรือริเวอร์ไซด์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. 9th ed. New Jersey: Asimon & Schuster.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). Delivery Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectations. New York: Free Press. (1998). SERQUAL: A multiple – item
Kimes, S. E. (2010). Strategic Pricing through Revenue Management. Cornel University
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ