การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • อลิสา สำรอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมรรถพงศ์ ขจรมณี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม, พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงาน, พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งเสริมการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ซึ่งตำแหน่งอาจารย์หรือพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการถือเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่สำคัญ โดยพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมจะส่งเสริมการเกิดองค์ความรู้ในด้านวิชาการ และสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติต่อไปได้

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง และ 2) การพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนเองและความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมเป็นตัวพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง จำนวน 188 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบวัดความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และแบบวัดพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ

ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม และพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานอยู่ในระดับสูง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรม สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งได้ร้อยละ 21.6 (R2 = .216)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความคิดสร้างสรรค์แบบนวัตกรรมสามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานได้มากที่สุด รองลงมาคือ การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐานเท่ากับ .268 และ .227 ตามลำดับ

References

เกษสุดา บูรณศักดิ์สถิต และชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2562). พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(6), 138-152.

ธัญนันท์ นาคแดง. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันทางอาชีพของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นาฏวดี จำปาดี. (2554). การรับรู้ความสามารถของตนเอง รูปแบบความคิดสร้างสรรค์ และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม: กรณีศึกษาบริษัทผู้ให้คำปรึกษาและพัฒนาคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.

วรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย และชาญชัย ผลถานุกิติถาวร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของผู้มาขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17(2), 49-63.

วิกาวี วัฒนวิจารณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์กับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรม: กรณีศึกษากลุ่มบริษัทผู้ให้บริการด้านการสร้างแบรนด์แบบครบวงจรแห่งหนึ่ง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศิขริน เลขาวิจิตร และ รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรมของข้าราชการครู โดยมีสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นตัวแปรสื่อ และการเสริมสร้างพลังอำนาจในเชิงจิตวิทยาเป็นตัวแปรกำกับ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 23(1), 41-53.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุคนธ์ทิพย์ มงคลเจริญ. (2555). อิทธิพลของรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของพนักงานในงานธุรกิจสื่อไดเร็คทอรี่แห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). เทคนิคการวิเคราะห์ตัวแปรหลายตัวสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

สุดารัตน์ เหลาฉลาด. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายใน ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วยสภาพแวดล้อมในงาน กับพฤติกรรมสร้างสรรค์ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุธีรา นิมิตนิวัฒน์. (2562). การรับรู้ความสามารถของตนเองพลังขับเคลื่อนสู่พฤติกรรมสร้างนวัตกรรม. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 14(2), 136-148.

องค์อร ประจันเขตต์ และสุชาดา นันทะไชย. (2557). โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นของพฤติกรรมการทำงานที่มุ่งนวัตกรรมของอาจารย์พยาบาลในสถาบันสมทบคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 371-381.

Balker, B. (2015). The relationships between organizational climate, innovative behavior and job performance of teachers. International Online Journal of Educational Sciences, 7(2), 81-92.

Bandura, A. (1973). Aggression: A social learning analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hail.

Bandura, A. (1986). Fearful expectations and avoidant actions as coeffects of perceived self-inefficacy. American Psychologist, 41, 1389-1391.

Bandura, A. (2010). Self-Efficacy. In The Corsini Encyclopedia of Psychology. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons.

Baskaran, K., & Rajarathinam, M. (2018). Innovative Teaching Practices in Educational Institutions (ITPEI). International Journal of Educational Sciences, 20, 72-76.

Devloo, T., Anseel, F., De Beuckelaer, A., & Salanova, M. (2015). Keep the Fire Burning: Reciprocal Gains of Basic Need Satisfaction, Intrinsic Motivation and Innovative Work Behaviour. European Journal of Work and Organizational Psychology, 24, 491-504.

Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hsiao, H., Chang, J., Tu, Y., & Chen, S. (2011). The impact of self-efficacy on innovative work behavior for teachers. International Journal of Social Science and Humanity, 1(1), 31-36.

Kaycheng, S. (2016). Fostering student creativity through teacher behaviors. Thinking Skills and Creativity, 23, 58-66.

Kirton, M. J., (1976). Adaptors and innovators: A description and measure. Journal of Applied Psychology, 61, 622-629.

Kirton, M.J., (1994). Adaptors and innovators: Styles of creativity and problem solving. New York: Routledge.

Kleysen, R.F., & Street, C.T. (2001). Toward a multidimensional measure of individual innovative behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 284-296.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Larson, M. D., Norman, S. V., Hughes, L. W., & Avey, J. B. (2013). Psychological capital: a new lens for understanding employee fit and attitudes. International Journal of Leadership Studies, 8(1), 28-43.

Mahajan, A., & Kaushal, K. (2017). Impact of innovative pedagogical teaching methods on students’ academic performance. New Nigerian Journal of Clinical Research, 6(10), 41–44.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Somech, A., & Drach-Zahavy, A. (2013). Translating team creativity to innovation implementation: The role of team composition and climate for innovation. Journal of Management, 39(3), 684-708.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23