การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยวเจเนเรชั่น ซี กลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ

ผู้แต่ง

  • ภัทรา เวชสวรรค์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือ, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, เจเนเรชั่น ซี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษานโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ เพื่อการสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยว และสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ เพื่อการสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ เพื่อการสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจังหวัดชลบุรี การเก็บข้อมูลโดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบด้วย ผู้ประกอบการนำเที่ยวประเภท Non-Group Tour มัคคุเทศก์ ผู้บริหารจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้บริหารจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้บริหารจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือ จำนวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่า นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ เป็นการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสู่การเป็นระดับโลก พฤติกรรมในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว รูปแบบการท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน รูปแบบการท่องเที่ยวที่ให้บริการในปัจจุบันและควรพัฒนาในอนาคต กิจกรรมเน้นความบันเทิง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย โดยนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและอเมริกาเหนือ จะมีความสนใจในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยและประเพณีต่าง ๆ และท่องเที่ยวเชิงกีฬาและบันเทิง แนวทางการพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประเทศยุโรปและกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ โดยมีสื่อสังคม หรือ โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เป็นต้น

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=615.

ข่าวสด ออนไลน์. (21 ตุลาคม 2563). โควิดทำพิษ รายได้ท่องเที่ยว 9 เดือน ทรุดหนัก 1.57 ล้านล้าน ต่างชาติหายวับ. สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/economics/news_5157607

จุฑามาศ วิศาลสิงห์. (2559). แผนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยววิถีไทยและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ธฤติมา อัญญะพรสุข. (2559). ปัจจัยและกระบวนการตัดสินใจเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ของนักท่องเที่ยววัยสูงอายุชาวยุโรป. วารสาร มทรส. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 1(1), 29-42.

พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ. (2559). การท่องเที่ยวไทยในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/sep2561-4.pdf

วรมน บุญศาสตร์. (2558). การสื่อสารการตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภคเจเนอร์เรชั่น ซีในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 14-30.

วุฒิเวช เวชชบุษกร. (2559). เทรนการท่องเที่ยวในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/sep2561-4.pdf

สถาพร เกียรติพิริยะ, ศราวุฒิ บุษหมั่น, กมล เพชรอ้อน และ อัญชัญ ไชยวงศ์. (2563). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองด้วยเทคโนโลยีสื่อดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 436–450.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/untitled%20folder/EEC010.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). เป้าหมายการพัฒนา EEC. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/th/development-goals.

อัศวิน แสงพิกุล. (2552). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบแรงจูงใจและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนานาชาติที่เดินทางมาประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 23(7), 33-58.

อิสระพงษ์ พลธาน และอุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2562). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 123-138.

Aaker, D. A. (2001). Strategic market management. New York: John Wiley.

Gabriel, C. (2010). Introducing generation C the connected collective consumer. Retrieved from https://www.nielsen.com/us/en/insights/article/2010/introducing-gen-c-the-connected-collective-consumer/.

Huertas, A., & Marine-Roig, E. (2018). User reactions to destination brand contents in social media. Information Technology & Tourism, 15(4), 291-315.

Jago, L. K., & Shaw, R. N. (1999). Consumer perceptions of special events: A multi-stimulus validation. Journal of Travel & Tourism Marketing, 8(4), 1-24.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23