การเปรียบเทียบการเปิดเผยนโยบายสำหรับการวัดมูลค่ายุติธรรม และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ผู้แต่ง

  • อัฐพงษ์ ธีระคานนท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • กิ่งกาญจน์ มูลเมือง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เฮียง บัวไหล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การเปิดเผยนโยบายสำหรับการวัดมูลค่ายุติธรรม , ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย , ตลาดการลงทุนทางเลือกแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปรียบเทียบการเปิดเผยนโยบายสำหรับการวัดมูลค่ายุติธรรมและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยทำการศึกษาเก็บข้อมูลจากข้อมูลที่มีปรากฎในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยี ทรัพยากร บริการ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรม และอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จำนวน 100 บริษัท โดยเก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยประกอบไปด้วยกลุ่มบริษัทจดทะเบียน ระดับบรรษัทภิบาล และสัดส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย และสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และตัวแปรการเปิดเผยมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ประกอบไปด้วย การเลือกใช้นโยบายทางบัญชีสำหรับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การเลือกใช้นโยบายทางบัญชีสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และจำนวนคำในการเปิดเผยค่ายุติธรรม มีความสัมพันธ์และให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ประกอบไปด้วย ขนาดของมูลค่ากิจการ (ราคาปิด ณ วันสิ้นงวด) และความสามารถในการทำกำไร ได้แก่ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผู้ที่จะนำเอาผลการศึกษานี้ไปใช้จำเป็นศึกษาตัวแปรอื่น ๆ เพิ่มเติม

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพ ฯ: วี. อินเตอร์ พริ้นท์.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/94713

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง การวัดมูลค่ายุติธรรม. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail /94713

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/94713

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2562). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน. สืบค้นจาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/94713

สุมาลี เอกพล สมเกียรติ์ ฉายพระพักตร์ และกิตติมา ทางนะที. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์กับผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 29-42.

อัญชลี พิพัฒนเจริญ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2560). การตอบสนองของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับธรรมาภิบาล คุณภาพกำไร และผู้สอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(40), 22-31.

O’brien, R. (2007). A caution regarding rules of thumb for variance inflation factors. Quality & Quantity, 41(5), 673-690.

Perara M.H.B and Matthew MR (1996), Accounting theory and Development Australia, International Thomson Publishing Company.

Unegbu, A. O. (2014). Theories of Accounting: Evolution & Developments. Income-Determination and Diversities in Use. arXiv preprint.

Wolk, H. I., Dodd, J. L., & Rozycki, J. J. (2008). Accounting theory: conceptual issues in a political and economic environment (Vol. 2). Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30