การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • ดลยา จาตุรงคกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว , การตัดสินใจ , ตลาดท่องเที่ยว , ไวรัสโคโรนา 19

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีในช่วงการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 400 คน จากแบบสอบถามที่เก็บในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2564 การวิเคราะห์ใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจการท่องเที่ยววิเคราะห์ได้ 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 การท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ 2 ปัจจัย ด้านจิตวิทยา ปัจจัยที่ 3 ทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยที่ 4 การส่งเสริมการตลาดแหล่งท่องเที่ยว ด้วยค่าน้ำหนักแต่ละตัวแปรในแต่ละปัจจัยสูงกว่า .6 ค่า AVE ในแต่ละปัจจัยมีค่า ตั้งแต่ .411 – .449 และค่า Composite Reliability (CR) ค่าตั้งแต่ .674 – .833 ส่วน KMO มีค่า .876 ซึ่งมีค่าในระดับนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้มีข้อแนะนำให้ผู้บริหารเมืองพัทยาควรส่งเสริมปัจจัยทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยการส่งเสริมการตลาดแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากมีค่าต่ำกว่า .8 จากการประเมินของนักท่องเที่ยว

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2564. สืบค้นจาก https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=628.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563). “พัทยา” มั่นใจท่องเที่ยวฟื้นเร็ว อัดแคมเปญปลุกคนไทยเที่ยวทั้งปี. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/tourism/news-515486.

ปิยะพร ธรรมชาติ และ สวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2562). อิทธิพลของการบอกต่อผ่านอินเทอร์เน็ต (eWOM) และแรงจูงใจในการ ท่องเที่ยวต่อทัศนคติการเดินทางของนักท่องเที่ยวสูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 107-127.

สิริญญา ชาติเผือก และ บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยาน แห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 134-153.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop

Aldebi, H., & Aljboory, N. (2018). The Impact of the Tourism Promotion-Mix Elements on the Foreign Tourists’ Mental Images of the Jordanian Tourist Destinations (A Field Study). International Business Research, 1(11), 74-86.

Amara, D. F. (2018). Motivation to Travel as A Result of Work Stress and Life Routine: The Case of Egyptian Vacationers. Journal of the Faculty of Tourism and Hotels; Alexandria University, 15(1), 1-8.

Boonkaew, S., Aujirapongpan, S., Kaewpresert Rakangthong, N., Potiya, N., & Jutidharabongse, J. (2021). The Tourist Motivation and Behavior of International Backpackers Attending the Full Moon Party in Thailand. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(6), 1067-1077.

Fodness, D. (1994). Measuring Tourist Motivation. Annals of Tourism Research, 21(3), 555-581.

Fornell, C. G., & Bookstein, F. L. (1982). Two structural equation models: LISREL and PLS applied to consumer exit-voice theory. Journal of Marketing Research, 19(4), 440-452.

Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. Journal of Marketing Theory and Practice, 19(2), 139–151.

Haque, M. F., Haque, M. A., & Islam, M. (2014). Motivational Theories – A Critical Analysis. ASA University Review, 8(1), 61-68.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management. Global edition (15th ed.). Harlow, UK: Pearson Education.

Loredana, D. & Gabriel, D. (2018). Customer Satisfaction Survey to Tourist Destination Baile Herculane. Ovidius University Annals, Economic Sciences Series, 18(2), 417-421.

Maslow, A. H. (1943). A theory of Human Motivation. Psychological Review, 50(4), 370-396.

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. Wesley Longman Inc. New York, NY: Harper & Row, 62-68.

Mehmetoglu, M., & Normann, Ø. (2013). The link between travel motives and activities in nature-based tourism. Emerald Group Publishing Limited, 68(2), 3-13.

Solomon, M. R. (2020). Consumer Behavior: Buying Having and Being. Global Edition (13 edition), Engle-wood Cliffs. NJ. Prentice-Hall.

Tohidi, H., & Jabbari, M. M. (2018). The Effect of Motivation in Education. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 31(1), 820 – 824.

Tohidi, H. (2011). Human Resources Management main role in Information Technology project management. Procedia-Computer Science Journal, 3(1), 925-929.

Yoon, Y., & Uysal, M. (2005). An examination of the effects of motivation and satisfaction on destination loyalty: a structural mode. Tourism Management, 26(1), 45–56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29