ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง , วัฒนธรรมองค์กร , แรงจูงใจในการทำงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กรส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน และศึกษาความสัมพันธ์ของผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานที่ทำงานอยู่ในบริษัทรับเหมาในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 450 คน ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 212 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน และรายได้ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานแตกต่างกัน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ วัฒนธรรมองค์กรแบบเครือญาติ และแบบราชการ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์โดยตรงแก่ผู้ประกอบธุรกิจงานรับเหมาในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจในด้านความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและความสำเร็จขององค์กร
References
กัมปนาท วอขวา. (2555). ความผูกพันของพนักงานในระบบจ้างเหมาแรงงานต่อองค์กร:กรณีศึกษา บริษัท เอชอาร์ ทรานส์ เซอร์วิส จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
เกตุศิรินทร์ เพ็ชรบูรณ์. (2557). การศึกษาลักษณะส่วนบุคคลภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ขวัญตา เกื้อกูลรัฐ. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขนาดกลาง อำเภอโพธาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
จิรัฏวัฒน์ ศิริบุตร. (2564). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจเนอเรชันวาย ในจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี).
จิราภรณ์ บุญญิ่ง. (2559). การจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 136-148.
ชัชชัย แจ่มจันทร์, ปรีชา เจ็งเจริญ และ จักรพันธ์ วงษ์บูรณาวาทย์. (2558). การวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย การสื่อสารภายในองค์กรและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของวิศวกรและนักบัญชี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(3), 75-88.
ตฤณ ไหมฉิม และ ณัฐวุฒิ บุญศรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง : กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดภูเก็ต. ใน รายงานการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสังคม) (น. 955-968). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ทรรศนะ บุญขวัญ. (2549). วัฒนธรรมองค์กรกับกลยุทธ์ (Organizational culture and strategy). วารสาร MBA, 7(76), 120-131.
ธนภรณ์ รุ่งวิไลเจริญ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บมจ. ธนาคารกรุงไทยรุ่นเจเนอเรชันวายในเขตกาญจนบุรีและเขตราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
ปุญชรัสมิ์ ตุงคง และ ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 131-147.
เมธา ขำดี. (2564). ภาวะผู้นำและวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคคลากรองค์กร คลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 631-642.
อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
Burns, J. M. (1987). Leadership. New York: Harper & Row.
Daft, R. L. (2002). Organization theory and design (7th ed.). Ohio: South-western College.
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (2011). The motivation to work Vol. 1. New Jersey: Transaction Publisher.
Lolowang, N. L., Troena, E. A., Djazuli A., & Aisjah, S. (2016). Influence of leadership towards working performance mediated with motivation: a study on the implementation of program in Jayapura. Journal of Agricultural and Socio-Economic Science, 60(12), 130-135.
Yamane, T. (1973). Problems to accompany Statistics, an introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สุขสันติ์ เปลี่ยนเจริญ, มะดาโอะ สุหลง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ