ต้นทุนทางโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปนครเซี่ยงไฮ้ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล พัฒนเลี่ยมไพบูลย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • วิญญู ปรอยกระโทก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ต้นทุนทางโลจิสติกส์ , ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ก, การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนทางโลจิสติกส์รวมถึงศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังนครเซี่ยงไฮ้ อันเป็นท่าเรือหลักและศูนย์กลางการนำเข้าส่งออกของประเทศจีน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การวิจัยนี้ศึกษาการขนส่งสินค้าทางเรือแบบเต็มตู้และแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์จากผู้ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศภายใต้ข้อตกลงการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ 2010 และได้ทำการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการ ภาคธุรกิจ และผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยทางโลจิสติกส์จากท่าเรือกรุงเทพแบบเต็มตู้คอนเทนเนอร์ มีต้นทุนรวม 56,840.70 บาท ต่อการขนส่งแบบ 1x20 GP ประกอบด้วยต้นทุนการขนส่งร้อยละ 78.88 ต้นทุนคลังสินค้าร้อยละ 3.12 ต้นทุนในการเก็บรักษาร้อยละ 5.29 และต้นทุนการบริหารร้อยละ 12.71 โดยการขนส่งแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ มีต้นทุนเฉลี่ยรวม 15,613.40 บาท ต่อสินค้าจำนวน 5.4 ลูกบาศก์เมตร โดยต้นทุนการขนส่งร้อยละ 48.55 ต้นทุนคลังสินค้าร้อยละ 6.81 ต้นทุนการเก็บรักษาร้อยละ 6.81 และต้นทุนการบริหารร้อยละ 37.82 ซึ่งพบว่าโอกาสคือความต้องการสินค้าไทยในจีนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนอุปสรรคคือผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายพบว่าข้อตกลงในการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศแบบเงื่อนไข Free On Board (FOB) และ Cost, Insurance & Freight (CIF) มีความเหมาะสมที่สุด

References

กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร (กมพ.) กรมศุลกากร. (2561). ความเป็นมาของ INCOTERM 2010. สืบค้นจาก https://www.customs.go.th/content.php?ini_content=customs_valua tion_03&ini_menu=menu_customs_value&lang=th&left_menu=menu_customs_alue_03

กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม. (2562). “โลจิสติกส์” นิยามและความหมาย. สืบค้นจาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-07-21-16-50-25

ไชยยศ ไชยมั่นคง และมยุขพันธุ์ไชยมั่นคง. (2550). กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อแข่งขันใน ตลาดโลก. นนทบุรี: ซี.วาย.ซิซเทิมพริ้นติ้ง.

ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์. (2564). การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเล และทางบก: กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 15(2), 92-105.

รวมพล จันทศาสตร์, และ อัสรียาภรณ์ สง่าอารีย์กุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยกรณี ศึกษาผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนกับสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 8-15.

รุจิรา เพียโคตร. (2561). การพยากรณ์ผลกระทบต่ออัตราค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางเรือ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ. สืบค้นจาก http://www.mbaoneday-abstract.ru.ac.th

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ (2564). สืบค้นจาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNCountry&Option=1&Lang=Th&ImExType=1

สำราญ ทองเล็ก. (2553). การจัดการกิจการพาณิชยนาวี. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สุปรีย์ เทียนทำนูล. (2559). ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP: ตัวชี้วัด สมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของประเทศ. วารสารเศรฐษกิจและสังคม, 43(3), 85-88.

JCtrans Community. (2021). Premium member is covered for claims. Retrieved From https://www.jctrans.net/company/list-0-0-thailand-0-1-0-0-0-20-1.html

Slack, B., & Gouvernal, E. (2011). Container freight rates and the role of surcharges. Journal of transport geography, 19(6), 1482-1489.

World Trade Organization (WTO). (2021). World trade primed for strong but uneven recovery after COVID-19 pandemic shock. Retrieved From www.wto.org/English/news_e/pre s21_e/pr876_e.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30