การสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการการท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ทอมมี่ เจนเสน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
  • สริยาภา คันธวัลย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
  • วรดา รักษาผล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วม, ผู้ให้บริการการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการการท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่จะส่งเสริมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือกลุ่มผู้ให้บริการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจำนวน 6 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์จำแนกชนิดข้อมูลซึ่งเป็นการแยกแยะหมวดหมู่ข้อมูล สังเคราะห์สรุปผลภาพรวม และตีความจากผลการวิเคราะห์ที่ได้เพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยจากรูปธรรมหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเป็นหลัก และนำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาสรุปผลโดยใช้วิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการการท่องเที่ยว จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ 1) ผู้ส่งสาร มีลักษณะการทำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ โดยคนรุ่นเก่าจะเน้นเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหลัก และให้คนรุ่นใหม่ร่วมสนับสนุนในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารสมัยใหม่ 2) สาร มีความกระชับ ข้อความสั้น และเน้นเฉพาะใจความที่สำคัญ และอาจมีการใช้รูปภาพเป็นสารเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการมากยิ่งขึ้น สารมีความทันสมัย มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้รับสาร ซึ่งเป็นวัยกลางคนเป็นส่วนใหญ่ สารหรือเนื้อหาสารมีการเน้นย้ำให้เห็นถึงจุดเด่นของชุมชน 3) ช่องทางการสื่อสาร ใช้ช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคหลากหลายช่องทาง ซึ่งหลัก ๆ สามารถจัดกลุ่มช่องทางการสื่อสารได้เป็น 2 ลักษณะคือ ช่องทางการสื่อสารแบบสื่อดั้งเดิม และช่องทางการสื่อสารแบบสื่อออนไลน์ และ 4) ผู้รับสาร ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงานที่อาศัยอยู่ในเมือง ไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศเกี่ยวกับวิถีชีวิตเชิงเกษตรมากนัก สำหรับปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมนั้น ยังขาดความรู้และการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยในสื่อออนไลน์ หน่วยงานภาครัฐยังมีการสนับสนุนผู้ประกอบการไม่ทั่วถึง เครือข่ายโทรศัพท์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตยังเข้าไม่ครอบคลุมทุกแหล่งท่องเที่ยว แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบมีส่วนร่วมต้องอาศียการสื่อสารกับลูกค้าด้วยข้อมูลที่เป็นความจริงและครบถ้วน

References

กรมการท่องเที่ยว. (2552). คู่มือการประเมินแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

กฤษฎา สุริยวงค์, สุวันชัย หวนนากลาง, และฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2564). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยชุมชนมีส่วนร่วมของจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 23(1), 43-57.

กาญจนา สมพื้น, พรพิมล สงกระสันต์ และกรองทอง จุลิรัชนีกร. (2561). ประสิทธิผลของการสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่จังหวัดจันทบุรี (รายงานการวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นงเยาว์ พรหมประสิทธิ์, ชูตา ประโมจนีย์, และ ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). ปัญหาของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย (น. 8-13). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นภดล แสงแข, วราภรณ์ ศรบัณฑิต, นิศารัตน์ แสงแข, กัลยรัตน์ เจียมโฆสิต และรมิดา กาญจนวงศ์. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 122-136.

เปรมปรีดา ทองลา และเพ็ญศิริ สมารักษ์. (2563). ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 190-213.

เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์ และคณะ. (2561). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. ม.ป.ท.

มติชนออนไลน์. (2559). สศก.คาดท่องเที่ยวเกษตรโตพุ่งหลังรัฐดันโครงการอะเมซิ่งไทยเทสต์. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/economy/news_209727.

มธุรา สวนศรี. (2559). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(31), 41-55.

วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ์ และ วรวิทย์ นิเทศศิลป์. (2561). แนวการปฏิบัติและกระบวนการสื่อสารวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้พระนักพัฒนาบนพื้นที่สูง : พื้นที่ต้นแบบ สบเมย แม่ลาน้อย ขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เว็บไซต์เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2560). สกว.พัฒนารูปแบบ-แอพพลิเคชัน การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจันทบุรี. สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_17364

สมบัติ นามบุรี. (2561). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31