ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย: กรณีศึกษาอิทธิพลคั่นกลางของตัวแปรความผูกพันต่อองค์การ

ผู้แต่ง

  • ธัญรัศม์ จิรฐิติเกียรติ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย และเพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มของประเทศไทย โดยมีสถานประกอบกิจการเข้าร่วมทั้งสิ้น 20 โรงงาน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 391 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นพนักงานในโรงงานน้ำดื่ม จำนวน 174 คน โรงงานเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จำนวน 154 คน โรงงานทำน้ำอัดลม จำนวน 55 คน และโรงงานน้ำแร่ จำนวน 8 คน โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า แบบจำลองโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแรงจูงใจการทำงานส่งผลทางตรงต่อทั้งความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย และยังมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความผูกพันต่อองค์การไปยังประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำดื่มประเทศไทย โดยข้อค้นพบที่สำคัญของงานวิจัยนี้คือ แรงจูงใจตามทฤษฎี ERG มีความสำคัญในทุกมิติ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับทุกมิติ ด้วยการยึดถือแนวทางการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงาน และยังควรมีการออกแบบและกำหนดเส้นทางอาชีพให้ชัดเจน อีกทั้งยังควรให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันของพนักงานในองค์กรมากขึ้น

References

กนกพร กระจางแสง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). แรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 116-129.

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2565). ข้อมูลสถิติโรงงานอุตสาหกรรม ณ สิ้นปี 2565. https://www.diw.go.th/webdiw/static-fac/

กฤตภาคิน มิ่งโสภา และณกมล จันทร์สม. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 209-222.

กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). หลักการจัดการและองค์การ. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

กิติศักดิ์ สิรหทัยวรกิจ และสุมาลี รามนัฏ. (2564). อิทธิพลความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงแรงจูงใจสู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 11(3), 19-25.

ขวัญลาภา กุลสรัลพร และทศพร มะหะหมัด. (2562). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันของพนักงานบริษัทอนิลา เยม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 3(2), 102-110.

ดวงพร โพธิ์สร และเทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้อนถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 4(1), 106-146.

ดำรงค์ ถาวร, อังคณา ธนานุภาพพันธุ์ และรินทร์ยุพา ภัทรชีวานันท์. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัทผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 5(2), 13-26.

ธนายุ ภู่วิทยาธร. (2561). การทำงานเป็นทีมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 25-40.

นาถรพี ชัยมงคล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2562). ความต้องการของพนักงานตามทฤษฎี ERG และมนุษยสัมพันธ์ในองค์การที่มีผลต่อความขัดแย้งในองค์การในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 263-280.

นาธัส จีนเชื้อ, เกียรติ บุญพโย และตระกูล จิตวัฒนากร. (2565). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานประจำ ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แผนกส่งออก อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(2), 107-117.

นิวัตต์ จุลจำเริญทรัพย์ และอภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงพยาบาลหนองแค. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 6(2), 33-45.

บงกช ตั้งจิระศิลป์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การ ความจงรักภักดีต่อองค์การ และผลการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 3(2), 55-70.

บริษัท มิตร นิรันดร์ เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด. (2565). เริ่มต้นธุรกิจ โรงงานน้ำดื่มขนาดเล็ก ต้องรู้ สำหรับผู้สนใจธุรกิจน้ำดื่ม ศึกษาความเป็นไปได้ และ ประเมินตลาด. https://mitrwater.com/small-drinking-water-plant/

บริษัท วิ้งค์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด. (ม.ป.ป.). เริ่มต้นธุรกิจน้ำดื่มต้องรู้. https://www.winkintergroup.com/drinking_water_business/starting/

ปนัดดา ธรรมปัญญา. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฝ่ายบัญชีของบริษัทจำกัดในเขตจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18, 375-396.

ปุญชรัสมิ์ ตุงคง และถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 130-147.

พรทิพย์ เกิดนำชัย และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). บุพปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงาน ผ่านความผูกพันต่องานของบุคลากรกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(9), 296-315.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.

แพรววิไล จันทร์บุญ และกล้าหาญ ณ น่าน. (2564). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ กรณีศึกษา : สำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 9-17.

มณีรัตน์ ศรีคุ้ย และธวัชชัย ทุมทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(1), 157-174.

ยุพาพร จันทร, ธีรวัตร์ ภูระธีรานรัชต์ และอุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 5(2), 16-30.

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-20-th

วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/io/io-beverage-2022

สถาบันอาหาร. (2558). อุตสาหกรรมน้ำดื่ม โดย คุณธิติพร ธรรมาภิมุขกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการตลาด บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด. https://fic.nfi.or.th/area-based-Industry-detail.php?smid=1125

สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2563). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 340-354.

อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 32-46.

Alderfer, P. C. (1 9 7 2). Existence Relatedness and Growth: Human need in Organization Settings. Free Press.

Al-Jabari, B., & Ghazzawi, I. (2019). Organizational Commitment: A Review of the Conceptual and Empirical Literature and a Research Agenda. International Leadership Journal, 11(1), 78-119.

Arogundade, A. M., & Akpa, V. O. (2023). Alderfer’s Erg and Mcclelland’s Acquired Needs Theories-Relevance in Today’s Organization. Scholars Journal of Economics, Business and Management, 10, 232-239.

Brand Age Online. (2022). อุตสาหกรรมไหน Turnover เยอะที่สุด. https://brandage.com/article/33474

CMR Group. (n.d.). น้ำประปาดื่มได้? ปลอดภัยแค่ไหน??. https://www.cmpthai.com/content/5469/น้ำประปาดื่มได้-ปลอดภัยแค่ไหน

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Structural equation models with unobservable variables and measurement error: Algebra and statistics. Journal of Marketing Research, 18(3), 382-388.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Aderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis A global perspective (7th ed.). Pearson Education Inc.

Henseler, J., Hubona, G., & Ray, P. A. (2016). Using PLS path modeling in new technology research: updated guidelines. Industrial management & data systems, 116(1), 2-20.

Kian, T. S., Yusoff, W. F. W., & Rajah, S. (2014). Job satisfaction and motivation: What are the difference among these two. European Journal of Business and Social Sciences, 3(2), 94-102.

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M. (2013). Employee—organization linkages: The psychology of commitment, absenteeism, and turnover. Academic press.

Olafsen, A. H., Deci, E. L., & Halvari, H. (2018). Basic psychological needs and work motivation: A longitudinal test of directionality. Motivation and emotion, 42, 178-189.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. llinois.

Ryan, R. M., & Deci, E. L. (2022). Self-determination theory. In Encyclopedia of quality of life and well-being research (pp. 1-7). Springer International Publishing.

Shikalepo, E. E. (2020). The role of motivational theories in shaping teacher motivation and performance: A Review of Related literature. International Journal of Research and Innovation in Social Science , 4(4), 64-76.

Wołowska, A. (2014). Determinants of organizational commitment. Human Resources Management & Ergonomics, 8(1), 129-146.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-29