รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสมรรถนะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสมรรถนะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของครูคณิตศาสตร์ที่ได้รับการยกย่อง และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ฯ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ คือ ครูคณิตศาสตร์ระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการยกย่อง จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มเป้าหมายในพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ จำนวน 6 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งสองชนิดมีค่าความตรงตามเนื้อหาระดับสูง ค่า CVR ตั้งแต่ 0.80-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 3 ด้าน คือ (1) ด้านความรู้ โดยการสอนเนื้อหา การตั้งคำถามและช่วยกันสรุปความรู้ (2) ด้านกระบวนการ โดยการลงมือปฏิบัติจริง นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3) ด้านคุณลักษณะของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีในการเรียนคณิตศาสตร์ แต่ละขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ ควรให้ผู้เรียนทราบถึงปัญหาว่าปัญหานั้นคืออะไร วิเคราะห์ให้ได้ว่าปัญหานั้นมีขอบเขตข้อมูลอย่างไร จะใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องใดมาแก้ปัญหา แปลงปัญหาให้อยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตรวจสอบและสรุปคำตอบของปัญหา โดยสื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ควรเป็นสื่อของจริงและสื่อสัมผัส นักเรียนได้ใช้เอง มีใบงานบันทึกระหว่างทำกิจกรรม และทบทวน สรุปความรู้ และการวัดผลประเมินผลควรมีการวัดและประเมินผลอย่างหลากหลาย วัดผลตามสภาพจริง และนำผลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนานักเรียน และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ฯ ที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
Gravemeijer, K. (1997). Mediating Between Concrete and Abstract. In T. Nunens & P. Bryant (Eds.), Learning and Teaching Mathematics: An International Perspective. (pp. 321-322). Hove: Psychology Press.
Khammani T. (2009). Science of Teaching: A Knowledge-Based Approach to Learning Process. 20th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Lawshe, C. H. (1975). A qualitative approach to content validity. Personnel Psychology, 28, 563-575.
Ministry of Education. (2008). Indicators and learning substance of Mathematics the Core Curriculum of Basic Education in 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Nation Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1993). Assessment in the Mathematics Classroom. Reston: NCTM.
National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2015). The result of O-NET reports 2015. Retrieved March 30, 2015, from http://www/niets.or.th/. (in Thai).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). ประกาศและรายงานผลการทดสอบ O-NET ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2558, จาก http://www/ niets.or.th/.
Organisation For Economic Co-Operation And Development (OECD). (1999). Measuring Student Knowledge and Skills A New Framework for Assessment. Paris: OECD Publications.
_______. (2009). PISA 2009 Assessment Framework - Key Competencies in Reading, Mathematics and Science. Retrieved September 5, 2016, from http://www.oecd.org/edu/school/programme for international student assessment pisa/pisa 2009 assessment framework key competencies in reading mathematics and science. htm.
Secondary Educational Service Area Office 28. (2015-2016). Policy, Strategy and highlight of Secondary Educational Service Area Office 28 in 2015. Srisaket: Secondary Educational Service Area Office 28. (in Thai).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (2558-2559). นโยบาย กลยุทธ์ จุดเน้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ประจำปี 2558. ศรีสะเกษ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.
Sinlarat, P. (2015). Thinking machine. Bangkok: Dhurakij Pundit University. (in Thai).
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2558). ศาสตร์การคิด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Srisa-ard, B. (2011). Teaching Development. 2nd ed. Bangkok: Chomromdek. (in Thai).
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การพัฒนาการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
Susaorat, P. (2010). Thinking Development. 4th ed. Bangkok: 9119 Technic Printing. (in Thai).
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012a). Mathematizing Assessment. Bangkok: Se-education. (in Thai).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ก). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012b). The example of PISA Test: Mathematics. 2nd ed. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ข). ตัวอย่างข้อสอบการประเมินผลนานาชาติ PISA: คณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2016). The PISA 2015 assessment results. Bangkok: V.J. Printing. (in Thai).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). ผลการประเมิน PISA 2015. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.