การออกแบบและพัฒนาชุดแต่งกายจากผ้าทอวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านหนองสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบและพัฒนาชุดแต่งกายจากผ้าทอวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองสวรรค์ จังหวัดอุดรธานีมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทผลิตภัณฑ์ชุมชนทอผ้าทอ 2)เพื่อออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดแต่งกายจากผ้าทอ และ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้สนใจผลิตภัณฑ์ ที่มีต่อชุดแต่งกายจากผ้าทอที่ออกแบบพัฒนาขึ้นมาใหม่ จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สมาชิกกลุ่มชุมชนทอผ้าและผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนทอผ้าทอวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหนองสวรรค์ จังหวัดอุดรธานี มีศักยภาพในการทอผ้าได้ทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้ายกดอก มีลวดลายมัดหมี่ที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ แต่มีจุดด้อยที่ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนราคาจำหน่ายต่ำ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ซ้ำกับกลุ่มทอผ้าอื่นทำให้ประสบปัญหาในการจำหน่าย 2) การออกแบบชุดแต่งกายเป็นเสื้อแจ็คเก็ต เน้นไปที่ตลาดวัยรุ่น วัยทำงานโดยใช้แรงบันดาลใจจากลวดลายเพชรที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มมาใช้ในการออกแบบรูปแบบและลวดลาย 3) การนำผลิตภัณฑ์ชุดแต่งกายไปสอบถามความพึงพอใจจากผู้สนใจผลิตภัณฑ์สรุปได้ว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านประโยชน์ใช้สอย (ค่าเฉลี่ย = 4.11) ด้านความสวยงาม (ค่าเฉลี่ย = 4.18) ด้านศักยภาพในการจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย = 4.19)
Article Details
References
ชนัษฎา จุลลัษเฐียร. (2560). ไหมแต้มจากภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมการผลิตผ้าทอมือลายมัดหมี่. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 319-340.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, นิรัช สุดสังข์. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4 (2), 56-67.
ไอรดา สุดสังข์. (2559). การออกแบบและพัฒนาชุดทำงานสตรี ด้วยเทคนิคการจับจีบ จากผ้าทอลายดอกปีบ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 170-179.