รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

นิธิโรจน์ วงศ์วัฒนถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อทดลองและประเมินรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี ประชากรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,880 คน กลุ่มตัวอย่าง จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของTaro Yamane จำนวน 330 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามระดับชั้น อย่างเป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง โดยใช้โปรแกรมลิสเรล ตัวแปรสาเหตุ ประกอบด้วย1) ความรู้ 2) ภาวะผู้นำ 3) การมีส่วนร่วม 4) ความเชื่อมั่นในตนเอง 5) ความฉลาดทางอารมณ์ 6) การทำงานเป็นทีม 7) การรับรู้บทบาท และ 8) บรรยากาศองค์กร ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี ระยะที่ 2เป็นการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี ประชากร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่คือผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องในประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน ทำการเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ตัวแปรคือ ปัจจัยที่เป็นผลลัพธ์จากการศึกษาของผู้วิจัยที่ได้จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบใช้วิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 1 วัน นำเสนอผลการเสนอแนะในการประชุมกลุ่มย่อย อภิปรายผลทั้งหมดในที่ประชุมใหญ่ นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มทดลองคือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี ที่มิใช่ประชากรในกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยระยะที่ 1 และ 2 ใช้วิธีการเลือกแบบสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 30 คน ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 3 เดือน ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน (ร่วม) หลายตัวแปรตาม (Multivariate Analysis of Covariance: MANCOVA) โดยกำหนดค่า ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการวิจัย


1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 5 ปัจจัย เรียงตามลำดับตามค่าอิทธิพล ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วม (0.38) 2) ภาวะผู้นำ (0.33) 3) การรับรู้บทบาท (0.20) 
4) บรรยากาศองค์กร (0.13) และ 5) ความรู้ (0.04)


2. ได้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 5 ด้าน 12 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรม รู้เรื่องการไกล่เกลี่ย 2) กิจกรรม ช่วยฟังหน่อย 3) กิจกรรม ถอดรหัส 4) กิจกรรม ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ 5) กิจกรรม ค้นหาผู้นำ 6) กิจกรรม เสริมสร้างภาวะผู้นำ 7) กิจกรรม สมบัติผลัดกันชม 8) กิจกรรม รู้จักตัวเอง 9) กิจกรรม บทบาทและหน้าที่ 10) การแสดงบทบาทสมมติ 11) กิจกรรมโยนไข่ไม่ให้แตกและ 12) กิจกรรม ผสมคำ ผสมคน


3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมี ประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ย ประนอมข้อพิพาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดอุดรธานี ดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Center of Dhamma Udon Thani Province (in Thai). (2014). Conclusion Yearly. Udon Thani: Center of Dhamma Udon Thani Province. (in Thai).

ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอุดรธานี. (2557). สรุปผลงานประจำปี. อุดรธานี: ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอุดรธานี.

Chiang Mai News. (2015). NEWS Online. 24 June 2015. (in Thai)

เชียงใหม่นิวส์. (2558). หนังสือพิมพ์ออนไลน์. 24 มิถุนายน 2558

Cook, T. D., & Campbell, D. T. (1979). Quasi-Experimentation: Design and Analysis for Field Setting. Chicago Illinois: Rand McNally.

Division of Administration Udon Thani Police Station. (2014). Conclusion Yearly. Udon Thani: Division of Administration Udon Thani Police Station. (in Thai).

กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี. (2557). สรุปผลงานประจำปี. อุดรธานี: กองกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี.

Glinfieng, J. (2000). Relationship between the factors affecting forPerson, Jop description and Atmosphere of the agency by Quality of Life 0f Nurse in Ministry of Defense Hospital. Master of science (management nursing), Chulalongkorn University. (in Thai).

จุฑาวดี กลิ่นเฟื่อง. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงานและบรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Navegan, S. (2001). Organization Behavior. Bangkok: Duangkamol Publisher.

สมยศ นาวีการ. (2544). พฤติกรรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

Phasugyued, P. (2004). Choice Surviving. Bangkok: A R Information and Publication. (in Thai).

ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2547). ทางเลือก ทางรอด. กรุงเทพฯ: เออาร์ อินฟอร์เมชั่น แอนด์ พับบลิเคชั่น.

Pipatsiriphol, Y. (2004). Factors Affecting forHuman and Environmentfor Nurse in ICU of Hospital in Bangkok zone. Master of science (Behavior apply), Srinakarintarawiroj University. (in Thai).

ยศวรรณ พิพัฒน์ศิริผล. (2547). ปัจจัยด้านบุคคลและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Singhalert, R. (2008). Social science Research Mahasarakham. Udon Thani: Rajabhat Mahasarakham University. (in Thai).

รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์ มหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Wasri, P. (2006). Education reform Overhaul faculties and Surviving. Bangkok: Sodsri-saklidwong fund. (in Thai).

ประเวศ วะสี. (2549). ปฏิรูปการศึกษายกเครื่องทางปัญญา ทางรอดจากหายนะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

Wiratnipavan, W. (1992). Natural resources Management and Organizational role. Bangkok: Odienstore. (in Thai)

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2535). การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและบทบาทขององค์กรในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Wongwattanathaworn, N. (2016). A Model for Work Performance Effectiveness Development of Village Headmen for Disputes Mediation in Udon Thani Province.

นิธิโรจน์ วงศ์วัฒนถาวร. (2559). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดอุดรธานี.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications.