ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ปัญญารัฐฎน์ จันทร์กอง
อุดม จำรัสพันธุ์
พิชญ์ ฉายายนต์
ชาตรี นาคะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ เพื่อจัดองค์ประกอบของภาวะผู้นำ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำของผู้อำนวยการ


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ 


ระยะที่ 1 การศึกษาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง
ควอไทล์ และค่าฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีจำนวน 55 ตัวชี้วัด 7 องค์ประกอบ


ระยะที่ 2 การจัดองค์ประกอบและการศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 550 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี 7 ด้าน คือ ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา มี 22 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง มี 6 ตัวชี้วัด ด้านความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม มี 5 ตัวชี้วัด ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน มี 5 ตัวชี้วัด ด้านประสบการณ์การเรียนรู้จากงาน มี 5 ตัวชี้วัด ด้านความสามารถการบริหารจัดการ มี 5 ตัวชี้วัด และด้านการจัดการเครือข่ายการทำงาน มี 6 ตัวชี้วัด และ 


ภาวะผู้นำดังกล่าวมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านประสบการณ์การเรียนรู้จากงาน (X5) ด้านความสามารถการบริหารจัดการ (X6) ด้านความรู้ความเข้าใจทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคม (X3) ด้านความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง (X2) และด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (X1) ตามลำดับ โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 60.00 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


 


สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y)


Ŷ = 1.908 + 0.307(X5) + 0.560(X6) + 0.181(X3) + 0.031(X2) + 0.039(X1)


 


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (Z) 


Ẑ = 0.440(Z5) + 0.219(Z6) + 0.305(Z3) + 0.105(Z2) + 0.104(Z1)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bagwell, K. (2002). Informational aspects of foreign direct investment and the multinational firm. Japan and the World Economy, 15(1), 1-20.

Bass, B. M. (1981). Stodgill’s handbook of leadership: A survey of theory and Research. New York: Free Press.

Bass, B. M., & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership. 2nd ed. Mahwah, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Inc/Psychology Press.

Board of education management system reform. (1999). Education management system reform in the Ministry of education. Bangkok: Teacher's council publishing. (in Thai).

คณะกรรมการปฎิรูประบบบริหารการศึกษา. (2542). การปฎิรูประบบบริหารการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

Chareanwongsuk, K. (2013). Civilized unity: The power of unity on a base of good beauty the truth. Journal of Prajadhipok’s Institute, 11(3), 5-18. (in Thai).

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2556). อารยสามัคคี: พลังสามัคคีบนฐานความดี ความงามความจริง. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 11(3), 5-18.

Chirichello, M. (2003). Reinventing the principalship: from centrist to collective leadership. In Lunenburg, F. C. & Carr, C. S. (Eds.), Shaping the future: Policy, partnerships, and emerging perspectives, pp. 92. Landham, Moldova: Scarecrow Education.

Dessler, G. (1998). Management. New Jersey: Prentice-Hall.

Fiedler, F. E. (1967). A Theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill.

________. (1976). Improving leadership effectiveness: The leader Match concept. New York: Wiley.

Fullan, M. (1991). The new meaning of educational change. London: Cassell.

________. (2006). Turnaround leadership. San Francisco: Jossey-Bass.

Gardner, J. W. (1990). On Leadership. New York: Macmillan Publishing.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice. 6th ed. New York: McGraw-Hill.

________. (2008). Educational administration: Theory, research, and Practice. 8th ed. New York: McGraw-Hill.

Jongsatityu, J. (2002). Educational area: expectation the event included the writings of Thailand OER. and picks on education reform 2543-2545 volume 1. In News and perspective OER. p. 302. Bangkok: Office for Educational Reform. (in Thai).

เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2545). เขตพื้นที่การศึกษา: สิ่งที่สังคมคาดหวัง หมายเหตุการณ์ศึกษาไทยรวมข้อเขียน สปศ.และบทความคัดสรรว่าด้วย การปฎิรูปการศึกษา 2543-2545 เล่ม 1. ใน ข่าวสารและทัศนะของ สปศ., หน้า 302. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

Karsten, M. F. (2006). Management, gender and race in the 21st century. New York: University Press of America.

Leithwood, K. (2003). Teacher leadership: Its nature, development and Impact on school and students. In M. Brundrett, N. Burton, & R. Smith (eds), Leadership in education, London: Sage. pp.103-117.

Lakomski, G., (2000). Doing educational administration: A theory of administrative practice. Amstredam: Pergamon.

Lucas, N. J. (2000). Lives of integrity: Factors that influence moral transforming leaders. Ph.D. Thesis, The University of Maryland, College Park.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2004). Educational administration concepts and practices. New York: Thomson Learning, Inc.

Lussier, R., & Achua, C. (2007). Effective leadership. 3rd ed. Mason, State of Ohio: Thomson Higher Education.

Ministry of Education. (2003). Act Ministry of Education 2546. Bangkok: Bangkok Ministry of Education. (in Thai).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Office for educational reform. (2002). The development of indicators for the evaluation of quality management education area. Bangkok: Tarnahcson. (in Thai).

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการ เขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

Office of the education council. (2007). The impact of globalization on education Thailand in the next 5 years. Bangkok: A comparative study of the center Research and Education Development Office. (in Thai).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). ผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษาเปรียบเทียบ สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

Office of the education council. (2010). Decentralization of education to educational service area and schools. Bangkok: Office of the education council. (in Thai).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Office of the National Economics and Social Development Board. (2011). Strategic development of the competitiveness of the country Thailand in long term. Bangkok: Office of the National Economics and Social Development Board. (in Thai).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Phanit, W. (2014). Creating learning to Century 21. 2nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Raelin, J. A. (2004). Don’t bother putting leadership into people. Academy of Management Executive, 18(3), 7.

Samkoset, W. (2017). Global Change 3. Bangkok: Openworlds publishing. (in Thai).

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2560). Global Change 3. กรุงเทพฯ: โอเพ่น เวิลด์ส พับลิชชิ่ง.

Schrader, S. (1995). Gaining advantage by leaking information: Informal Information trading. European Management Journal, 13(2), 156-163.

Schrader, S. M. (1995). Discourage opportunistic behavior in collaborative R&D: A new role for government. Research Policy, 24, 367-389.

Speanchai, P. (2003). School administrators with research to create a learning organization. Bangkok: Prikwarn. (in Thai).

พจน์ สะเพียรชัย. (2546). ผู้บริหารสถานศึกษากับการวิจัยเพื่อสร้างองค์กร แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: พริกหวาน.

Wasee, P. (2005). Knowledge management: The process of liberating human potential milions Freedom and happiness. Bangkok: Institute for Social Knowledge Management. (in Thai).

ประเวศ วะสี. (2548). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

Yukl, G. A. (1989). leadership in organizations. 2nd ed. New Jersey: Prentice Hall.