การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของครูคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

Main Article Content

วนิดา วนิดา บุญอุ้ม
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
พรเทพ เสถียรนพเก้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งออกเป็นสองระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูคอมพิวเตอร์ และระยะที่สอง การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 425 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.31 – 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ


ผลการวิจัย พบว่า


1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 16 องค์ประกอบย่อย 68 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น ด้านการมีความรู้พื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการติดต่อสื่อสาร จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกต้องตามกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรมและปลอดภัย จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ และด้านหลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ จำนวน 10 ตัวบ่งชี้


2. โมเดลโครงสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูคอมพิวเตอร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสอดคล้องกัน โดยมีค่าไคสแควร์ (Chi-Square: c2) เท่ากับ 41.20 ค่า p-value เท่ากับ 0.55 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีแสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) เท่ากับ 647.15 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนก อ้นถาวร. (2556). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านไอซีทีสำหรับผู้สอนในสถาบันการพลศึกษาในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันพลศึกษา, 7(1), 209–221.
Ontavor, K. (2013). A development ICT competency indicator model for faculty member in institute of physical education Thailand. Journal Institute of Physical Education, 7(1), 209–221. (in Thai).

ขวัญชัย หายหัตถี. (2556). สมรรถภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Haihutthee, K. (2013). The Information and Communication Technology Competencies of Computer Teachers in the Career and Technology Learning Area of School under Nakhon Ratchasima Provincial Administration Organization, Independent study, Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).

จันทิมา แสงเลิศอุทัย. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Saengloetuthai, C. (2007). The Development of Enrichment Curriculum to Enhance Information Communication Technology (ICT) Competency for Students of the Teaching Profession. Doctor of Education Degree in Curriculum Research and Development, Srinakharinwirot University. (in Thai).

นงค์นุช ขันอ้าย. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับอาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต.
Khan-ai, N. (2014). A Development of Information and Communication Technology Competency Indicators for Lectures in Faculty of Information Technology, Private University, Pathumthani Province. Masters of Science in Information Technology Management, Rangsit University. (in Thai).

ปาริชาติ เภสัชชา. (2558). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(59), 95–104.
Pasatcha, P. (2015). The competency development of teacher leadership on information technology and communication in learning management the 21st century. Graduate studies journal, 12(59), 95-104. (in Thai)

ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี. (2556). สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21, รวมบทความการศึกษาไทยสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560, จาก http://www.shideshare.net/minenanza/21-20347502.
Benjateprassamee, P. (2013). Teacher Competency in Information and Communication Technology in the 21st Century. Retrieved March 20 2017, from http://www.shideshare.net/minenanza/2120347502. (in Thai).

ภิญญาพัชญ์ กาวินคำ. (2559). เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. งานวิจัยคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Kawinkham, P. (2016). Information Technology in Development Teaching and Learning of the Faculty of Education, Chiang Rai Rajabhat University. (in Thai).

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). ICT Competency. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560, จาก http://ict.swu.ac.th/De.fault.aspx?tabid=3433.
Srinakharinwirot University. (2009). ICT Competency. Retrieved March 20 2017, From http://ict.swu.ac.th/De.fault.aspx?tabid=3433. (in Thai).

วาสนา สีลาภเกื้อ. (2555). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นของบุคลากรสำหรับการทำงานในมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Seelapkuea, V. (2011). Essential Information and Communication Technology Competencies for University Operations: A case Study of Prince of Songkla University Supporting Staff. Master of Science Thesis in Information Technology Management, Prince of Songkla University. (in Thai).

สายรุ่ง พิมจักร์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) ในศตวรรษที่ 21 ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Pimjak, S. (2015). The Development of Performance Indicators for Information and Communication Technology (ICT) in the 21st Century of Teachers at Primary Education Area Office Mukdahan, Thailand. Master Thesis in Educational and Evaluation, Mahasarakham University. (in Thai).

อุบลรัตน์ หริณวรรณ, กานดา พูนลาภทวี, ธีรพงษ์ วิริยานนท์ และกรรณ จรรยาวุฒิวรรณ์. (2557). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 147- 156.
Harinvon, U. (2014). The competency in education information technology for teacher. Journal of Education SWU, 15(2), 147- 156. (in Thai).