การพัฒนาทักษะทางภาษาจีนจากประโยชน์ของการใช้เฟซบุ๊กในกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Main Article Content

หยกขาว สมหวัง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กในการพัฒนาทักษะและความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน การใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กในการพัฒนาทักษะและความรู้เกี่ยวกับ ภาษาจีน เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กในการพัฒนาทักษะและความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนของนักศึกษาที่มีผลการเรียนแตกต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน/วัฒนธรรมจีนและการใช้ประโยชน์จากเฟซบุ๊กในการพัฒนาทักษะและความรู้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขา วิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 120 คน ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน. (Pearson's product moment coefficient of correlation)


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบรูปแบบการนำเสนอผ่านสื่อเฟซบุ๊กที่ใช้
ในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน คือ เพลง รองลงมา คือ คลิปวีดิโอ พฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน/วัฒนธรรมจีน กลุ่มตัวอย่างมีการติดตามเพจ ปั๊มภาษาจีน มากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์เฟซบุ๊กในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน ในการเรียนรู้คำศัพท์ ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร เช่น การพูดในชีวิตประจำวัน การโพสต์ข้อความภาษาจีน และสร้างความเข้าใจในการติดตามเพลง ภาพยนตร์ วรรณกรรม ศิลปินที่ชื่นชอบ


ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักศึกษาที่มีผลการเรียนแตกต่างกันมีการใช้ประโยชน์เฟซบุ๊กในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาษาจีนแตกต่างกัน และพฤติกรรมการติดตามเพจเฟซบุ๊กที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน/วัฒนธรรมจีน มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์จาก
เฟซบุ๊กในการพัฒนาทักษะและความรู้เกี่ยวกับภาษาจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสัมพันธ์เป็นไปในเชิงบวก ความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sriyanalug, K. (2006). The Application of E-learning for Teaching and Learning in Chinese Language. Journal of Education, 18(2), 33-48. (in Thai).
กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2550). การประยุกต์ใช้อีเลิร์นนิงในการเรียนการสอนภาษาจีน.วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2), 33-48.

Sriyanalug, K. (2008). Learning Styles of Chinese Language Students from the Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha University. Journal of Education, 19(3), 15-26. (in Thai).
กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3), 15-26.

Boonmee, K. (2016). Online Social Network Use of Youths in the Northeastern Region of Thailand. Udon Thani Rajabhat University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 145-153. (in Thai).
กนกอร บุญมี. (2559). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 145-153.

Na Nongkhai, K., Phankhawanich, N., & Pitiphat, S. (2015). Social Media Websites Using Behaviors of Udon Thani Province Residents. Udon Thani Rajabhat University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(2), 129-150. (in Thai).
กฤษฎา ณ หนองคาย, ณิชา พันธุ์ควณิชย์ และสามารถ ปิติพัฒน์. (2558). พฤติกรรมการใช้เว็บไซต์สื่อสังคมของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(2), 129-150.

Wannaphapha, T. (2017). Social Media with Education. Journal of Education, Mahasarakham University, 11(1),7-20. (in Thai).
ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1),7-20.

Haphuriwat, N. (2012). The development of a Chinese language task-based instructional model using associative memory techniques for Chinese character recognition to enhance reading ability of undergraduate students. Ph.D. Dissertation, Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai).
นรินทชัย ฮะภูริวัฒน์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติโดยใช้เทคนิคการจำอักษรจีนแบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านของนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kamaisom, N. (2016). TEACHING CHINESE LANGUAGE FOR HIGHER EDUCATIONIN THAILAND: NEW AND CHANGING ROLES OF TEACHERS IN 2st CENTURY. Phikanatesan Journal, 12(2), 187-197. (in Thai).
นันทนา กะหมายสม. (2559). บทบาทอาจารย์ผู้สอนในบริบทใหม่ที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ 21 กับการสอนภาษาจีนในสถาบันอุดมศึกษาไทย. พิฆเนศวร์สาร, 12(2), 187-197.

Tophol, P. (1990). The study of English learning style preferences of mathayomsuksa 3 students in Nakhon Phanom. Master of Art in Teaching English, Graduate School, Kasetsart University. (in Thai).
พัชราวรรณ โทพล. (2533). การศึกษารูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษที่ให้นักเรียนเป็นผู้เลือกเองในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

Boonbandol, Y., & Soontornwipat, S. (2017). Using English Videos on YouTube to Develop Vocational Students’ Speaking Skills at Singburi Vocational College. Liberal Arts Review, 12(23) (Special Edition), 1-9. (in Thai).
ยุพิน บุญบันดล และสุธิดา สุนทรวิภาต. (2560). การใช้วีดีโอภาษาอังกฤษจากยูทูปพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนอาชีวศึกษาที่กําลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 12(23) (ฉบับพิเศษ), 1-9.

Wansaman, W. (2015). Effects of using facebook as a medium for teaching esp reading for beginners. Master of Art in Teaching English as an International Language, Graduate School, Prince of Songkla University. (in Thai).
วัชรพงษ์ หวันสมาน. (2558). ผลของการใช้เฟซบุ๊กเป็นสื่อกลางในการสอนอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะทางให้กับผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาในระดับพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Khattiya, S., & Intanaga, P. (2016). Potentiality of social network sites for language learning: A case study of Busuu. Journal of Human Sciences, 17(2), 51-83. (in Thai).
ศรินยา ขัติยะ และพัชรากราณต์ อินทะนาค. (2559). ความน่าจะเป็นในการเรียนรู้ภาษาผ่านเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาเว็บ Busuu. มนุษยศาสตร์สาร, 17(2), 51-83.

Jangjai, S. (2009). Factors Affecting Learning Chinese of International Business: China and Chinese Studies Students at the Faculty of International Studies, PSU, Phuket. Faculty of International Studies, Prince of Songkla University. (in Thai).
ศุภชัย แจ้งใจ. (2552). รายงานวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิเทศธุรกิจจีนและสาขาจีนศึกษา คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำนักวิจัยและพัฒนา.

Danklang, U., & Samphanwatthanachai, B. (2016). Factors Affecting the User’s Satisfaction of Video Content on Social Media. Journal of Humanities and Social Sciences Rajapruk University, 2(2), 78-90. (in Thai).
อุษณีย์ ด่านกลาง และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนท์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90.

We are social. (2018). Digital in 2018 in Southeast Asia. Retrieved September 26, 2018, from https://www.slideshare.net/wearesocial/digital-in-2018-in-southeast-asia-part-1-northwest-86866386.