การพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานผสมผสานกลวิธีซินเนคติคส์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย

Main Article Content

จินดา ดา ลาโพธิ์
สำราญ กำจัดภัย
ประยูร บุญใช้

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนรายวิชาการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์สำหรับครูภาษาไทย ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานผสมผสานกลวิธีซินเนคติคส์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 37 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples


            ผลการวิจัยพบว่า


            1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 


1) ความสำคัญและความเป็นมา 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหาสาระ 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ผ่อนคลายขยายสมอง ขั้นที่ 2 ตรึกตรองทบทวน ขั้นที่ 3 ชี้ชวนเปรียบเทียบ ขั้นที่ 4 คมเฉียบผลงาน ขั้นที่ 5 แบ่งปันความรู้ และขั้นที่ 6 มุ่งสู่การประเมิน และ 6) การวัดและประเมินผล ซึ่งผลการประเมินรูปแบบการสอน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด


            2. ผลการใช้รูปแบบการสอน


                2.1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


               2.2 นักศึกษามีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


                2.3 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
Charoenwongsak, K. (2010). Creative Thinking. 2nd ed. Bangkok: Success Media. (in Thai).

จริยา แก้วศรีนวม. (2557). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบซินเนคติคส์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Kaewsrinuam, J. (2014). Development of Thai Instructional Activities Using Synectics to Enhance Mathayom Suksa 3 Students’ Creative Writing Ability. Master thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai).

แจ่มจันทร์ สุวรรณรงค์. (2556). ลักษณะคำประพันธ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. สกลนคร: โรงพิมพ์สกลนครการพิมพ์.
Suwannarong, J. (2013). Thai Poetry Features. 5th ed. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Press. (in Thai).

จิรารัตน์ บุญส่งค์. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.
Bunsong, J. (2016). Effects of Brain Based Learning Activities on Achievement and Creativity of Grade Eight Students. Master of Arts in Psychology, Graduate School, Prince of Songkla University. (in Thai).

ชัยวาฤทธิ์ สร้อยเงิน. (2552). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมซินเนคติคส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Sroingern, C. (2009). The Development of Thai Language Creative Writing of Prathom Suksa 3 Students by Synectics Activities. Master thesis in Curriculum and Instruction, Graduate School, Dhonburi Rajabhat University. (in Thai).

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2542). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสำหรับครูวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chaokiratipong, N. (1999). The Development of Instructional Model Emphasizing on Motor Skills for Vocational Teachers. Ph.D. Dissertation, Graduate School, Chulalongkorn University. (in Thai).

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kaemanee, T. (2015). Sciences of Teaching. 9th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai).

ประยูร บุญใช้. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชา การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิด 1025305. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Boonchai, P. (2006). The Course Book of Teaching–Learning to Develop Thinking 1025305. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai).

พรพิไล เลิศวิชา. (2552). การสอนภาษาไทยตามแนวคิด Brain Based Learning. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Lertwicha, P. (2009). Teaching Thai Language Using Brain Based Learning. Bangkok: Agricultural Co-operatives Association Press. (in Thai).

พัชรี ผลโยธิน. (2549). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิซซิ่ง.
Polyothin, P. (2006). Preschool and Early Childhood Education Experiences Provision. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai).

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Ritcharoon, P. (2012). Project Evaluation Techniques. Bangkok: College of Teacher Education Phranakhon Rajabhat University. (in Thai).

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย. (2560). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ. 5 ปี) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Sakon Nakhon Rajabhat University, Faculty of Education, Thai Language Department. (2017). Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. Bachelor of education curriculums, 5 years program, revised edition B.E. 2560. Sakon Nakhon: Sakon Nakhon Rajabhat University. (in Thai).

มิ่ง เทพครเมือง และ วาริน ชมตะคุ. (2555). การตรวจสอบความสอดคล้องของผู้ประเมินจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝายประถม). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Thepkhornmuang, M. & Chomtakhu, W. (2012). Investigation Rater Agreement on Desirable Characteristics of Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Elementary) Students. Bangkok: Srinakharinwirot University Prasarnmit. (in Thai).

รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร. (2554). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานรายวิชาการผลิตและนำเสนอมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Pongkitwitoon, R. (2011). Development of Electronics Lessons Using BrainBased Learning: The Course of Multimedia Production and Presentation for Education for Undergraduate Students. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai).

อติยศ สรรคบุรานุรักษ์ และ ธนาเทพ พรหมสุข. (2560). ซินเนคติคส์: รูปแบบการสอนที่ส่งเสริมนวัตกรรมและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 2555-2566.
Sankaburanurak, A. & Promsuk, T. (2017). Synectics: A teaching model that promotes innovation and creative thinking essential skills in the 21st century. Veridian, 10(3), 2555-2566. (in Thai).

อาจิยา หลิมกุล. (2556). การศึกษาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบซินเนคติกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Limkul, A. The Study of Creative Writing Ability for Undergraduate Students through Synectics Instructional Model. Master thesis in Teaching Thai Language, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai).

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
Phanmanee, A. (2003). Psychology for Creative Instruction. Bangkok: Yai Mai. (in Thai).

Gordon, W. J. J. (1961). Synectics: The Development of Creative Capacity. New York: Harper & Row.
Jensen, E. (2008). Brain - Based Learning: The New Paradigm of Teaching. 2nd ed. California: Corwin Press.