การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายและจรรยาบรรณ สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

Main Article Content

ขนิษฐา อินทะแสง
สุวัฒน์ บรรลือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายและจรรยาบรรณสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 105 คน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนที่มีระดับทักษะพื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ตทั้งระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียล เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะความรู้พื้นฐานด้านอินเทอร์เน็ต และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 


1. นักศึกษาที่ได้รับรูปแบบการเรียนการสอนต่างกัน จะมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายและจรรยาบรรณสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


2. นักศึกษาที่ได้รับสื่อการเรียนการสอนต่างกัน จะมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชากฎหมายและจรรยาบรรณสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนและสื่อการเรียนการสอน 
ในผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชากฎหมายและจรรยาบรรณสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนัย กีรติทัศนะ. (2554). จุดคุ้มทุนในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ. วารสารสารสนเทศ, 12(1), 1-6.
Keeratitasana, T. (2011). The break-even point in web-based teaching and learning. Journal of Information, 12(1), 1-6. (in Thai).

ภุชงค์ จันทร์เปล่ง. (2552). ชุดการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมภาษา พี เอช พี เรื่องการติดต่อฐานข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
Janpleng, P. (2009). A Computer-Based Learning Package via Network in the Career and Technology Learning Area, on the Topic of PHP Language Programming for Connecting with Database, for Mathayom Suksa V Students in Samut Prakan Educational Service Area 2. Master of Education Thesis, Educational Technology and Communications Program, Sukhothai Thammathirat University. (in Thai).

ลัทธพล ด่านสกุล. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีการกำกับตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างการโปรแกรม และการกำกับตนเองของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).
Dansakul, L. (2015). Effect of Flipped Classroom Teaching with Podcast Using Self-Regulated Strategies on Structured Programming Achievement and Self-Regulation of Enrichment Science Classroom Students. Master of Computer Education Thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai).

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
Panich W. (2013). Flipped Classroom. Siam Commercial Foundation. 2nd Edition. Bangkok: SR Printing Mass Product. (in Thai).

Bergmann, J., and Sams, A. (2012). Flip your classroom: Reach every student in every class every day. International society for technology in education.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In M. Fishbein (Ed.), Readings in attitude theory and measurement (pp. 90–95). New York: Wiley & Son.

Lloyd, J. E., and Ebener, W. C. (2014). Inverting a non-major’s biology class: Using video lectures, online resources, and a student response system to facilitate deeper learning. Journal of Teaching and Learning with Technology, 3(2), 31-39. doi: 10.14434/jotlt.v3n2.12853

Nordstokke, D., and Colp, S. M. (2014). Factorial Design. Encyclopedia of Quality of Life and Well-Being Research, 2144-2145. doi: 10.1007/978-94-007-0753-5