การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อลดความกังวลในการพูดภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อลดความกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศและศึกษาความพึงพอใจหลังจากการเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน (Everyday English for Communication) จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเพื่อประเมินระดับความกังวลในการพูดภาษาอังกฤษของตนเองซึ่งมีขั้นตอนการพูดทั้งสิ้น 4 ขั้น คือ ขั้นตอนก่อนเตรียมการพูด ขั้นตอนเตรียมการพูด ขั้นตอนก่อนพูดและขั้นตอนระหว่างการพูด โดยรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (α=.87) และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (α=.89) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาและการทดสอบ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความกังวลของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมก่อนเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความกังวลในขั้นตอนการเตรียมการพูดมากที่สุด 2) ระดับความกังวลของกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมหลังเรียนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความกังวลในขั้นก่อนการเตรียมการพูดมากที่สุด 3) เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินระดับความกังวลในการพูดภาษา อังกฤษของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติพบว่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทั้งรายด้านและในภาพรวม 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในภาพรวมระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Ministry of Education. (2009). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Publisher. (in Thai)
ธิดาพร รอดทุกข์. (2550). ผลของเทคนิคสถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษต่างกัน. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 16(4), 659-678.
Rodtook, T. (2007). Effects of Simulation Technique on Communicative English Speaking Skills and Emotional Intelligence of Mathayomsuksa Two Students with Different English Attitudes. Songklanakarin: Journal of Social Sciences and Humanities. 16(4), 659-678. (in Thai)
ประคอง กรรณสูต. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Kannasoot, P. (1995). Statistics for the Behavioral Science Research. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
ปราณี กลุละวณิชย์. (2550). มุมมองหนึ่งต่อนโยบายการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศของไทย. ใน ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนและความต้องการภาษาต่างประเทศในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kullavanijaya. P. (2007). A View on Thailand’s Foreign Language Education Policies”. In Fundamental Data for Foreign Language Educational Administration and Needs in Thailand. A Complete Research Report under the Research Project Thailand’s Foreign Language Education Policies. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
ไพสิฐ บริบรูณ์. (2554). การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย: การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศสู่ภาษาอังกฤษในฐานะภาษานานาชาติ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 3(6), 1-12.
Boriboon, P. (2011). English Language Teaching in Thailand: A Paradigm Shift from English as a Foreign Language to English as an International Language. SNRU Journal of Science and Technology, 3(6), 1-12. (in Thai)
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษ ที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
Panich, V. (2012). Approach for Building Student’s Learning in 21st Century. Bangkok: SodsriSaritwong Foundation. (in Thai)
ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). มหาวิทยาลัยของไทยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.nic.go.th/gsic/uploadfile/ university-asean.pdf.
Government Strategic Information Center. (2013). Thai Higher Education Institutions in Preparation for ASEAN. Community. Retrieved from http://www.nic.go.th/gsic/uploadfile/university-asean.pdf. (in Thai)
อดิศา เบญจรัตนานนท์ และ สุชาดา แก้วประถม. (2552). โครงการการสอนทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษแบบเข้มให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 20(2), 180-201.
Benjarattananon, A., & Kaewpratom, S. (2009). Intensive English Teaching of Listening and Speaking to Freshmen of Science and Technology Faculty, At Prince of Songkla University, Pattani Campus. Journal of Education Prince of Songkla University Pattani Campus. 20(2), 180-201. (in Thai)
อรุณี วิริยะจิตรา และคณะ. (2555). เหลียวหน้าแลหลังการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
Wiriyachitra, A. (2012). Looking Back and Moving Forward of English Learning. Bangkok: Windows on the World Press. (in Thai)
อัสมา ทรรศนะมีลาภ. (2559). หลักสูตรภาษาการสื่อสารและธุรกิจ: มุมมองนักเรียน อาจารย์และผู้ประกอบการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35(4), 219-228.
Tasanameelarp, A. (2016). Languages Communication and Business Curriculum: Aspects from Students, Lecturers, and Employers. Journal of Humanities and Social Sciences, 35(4), 219-228. (in Thai)
อัสมา ทรรศนะมีลาภ, Tuna Girgin นพวรรณ เมืองแก้ว และ ชวาลิน เพ่งบุญ. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(2), 15-25.
Tasanameelarp, A., Girgin, T., Muangkaew, N., & Pengbun, C. (2017). Students’ Perceptions of English Language Teaching and Learning in Prince of Songkla University, Surat Thani Campus. Journal of Mahasarakham University Humanities and Social Sciences. 36(2), 15-25. (in Thai)
Atas, M. (2015). The reduction of speaking anxiety in EFL learners through drama techniques. Procedia Social and Behavioral Sciences. 176, 961-969.
Asif, F. (2017). The Anxiety factors among Saudi EFL learners: A study from English language teachers’ perspective. English Language Teaching. 10(6), 160-173.
Crystal, D. (2003). English as a Global Language. Cambridge: Cambridge University Press.
Livingstone, C. (1983). Role Play in Language Learning. Singapore: Longman.
McCroskey, J. C. (1970). Measures of communication-bound anxiety. Speech Monography, 37, 269-288.
Saslow, J., & Ascher, A. (2015). Top-Notch: 1A. New York: Pearson Education.
Tipmontree, S., & Tasanameelarp, A. (2018). The Effects of Role-Playing Simulation Activities on the Improvement of EFL Students' Business English Oral Communication. The Journal of Asia TEFL. 15(3), 735-749.