ภาวะสุขภาพของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กัญญาวีณ์ โมกขาว
สนธยา มณีรัตน์
ณัฐนันท์ วรสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ขับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือขับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 586 คน เครื่องมือที่ใช้มี 3 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์อาการเจ็บป่วย และความไม่สุขสบาย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และมีการตรวจสอบความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์อาการเจ็บป่วย และความไม่สุขสบายได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบราคเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 40- 59 ปี มีชั่วโมงในการขับรถเฉลี่ย 11.45 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนข้อมูลด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีค่าดัชนีมวลกายเกิน ร้อยละ 75.43 และมีภาวะอ้วนระดับ 2  ถึงร้อยละ 55.5 ไม่เคยออกกำลังกาย และไม่ควบคุมการรับประทานอาหาร มากถึงร้อยละ 80.53 และ 90.5 ตามลำดับ มีโรคประจำตัว ร้อยละ 31.47 โรคที่พบมากที่สุดคือ ความดันโลหิตสูง มากกว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี อาการเจ็บป่วยที่พบมากและรุนแรงที่สุด คือ อาการปวด/ เมื่อย รองลงมาคือ อ่อนเพลีย, ไอ จาม คัดจมูก, และการมองเห็นแย่ลง ผลจากการวิจัยจึงนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความใส่ใจในการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้ขับรถแท็กซี่ รวมทั้งจัดให้มีบริการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันการเกิดโรคให้กับผู้ขับรถแท็กซี่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ หนูชนะ, สรา อาภรณ์, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์ และ สุรินธร กลัมพากร. (2557). ความเสี่ยงด้านสุขภาพในการทำงานของแรงงานนอกระบบใน กรุงเทพมหานคร. ในเอกสารประชุมวิชาการระดับชาติ Graduate Research Conference 2014 วันที่ 28 ธันวาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Noochana, K., Arporn, S., Chaikittiporn, C., & Klumpakorn, S. (2014). Occupational health risks of informal workers in Bangkok. Graduate Research National Conference, Khon Kaen University. (in Thai).

กรมการขนส่งทางบก. (2560). สถิติจำนวนผู้ขับรถแท็กซี่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2562: จาก https://www.dlt.go.th/taximeter/scar.htm
Department of Land Transport. (2017). Statistics of taxi drivers. Retrieved February 1, 2019 From https://www.dlt.go.th/taximeter/scar.htm.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยสังคม. (2551). รายงานระบบการคุ้มครองและสร้างความมั่นคงสำหรับแรงงานนอกระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
Social Research Institute Chulalongkorn University (2008). Report on the protection and security system for informal workers. Bangkok: Office of the Permanent Secretary. (in Thai).

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท. อ้างจาก Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.
Kitpredaborisut, B. (2008). Research Methodology in Social Sciences (10th edition). Bangkok: Chamchuri Productions. citing Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.

พรศิริ จงกล (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การสืบค้นการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกของคนขับรถแท็กซี่ และปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องจากการทำงาน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Chongkon, P. (2010). Searching for muscle pain and bones of taxi driver and risk factors due to work. Nakhonratchasima: Suranaree University of Technology. (in Thai).

พัฒนรัตน์ พัฒนาสินธุ์. (2555). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านการให้บริการของคนขับแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Patanasin, P. (2012). Ethical behavior in service of Taxi drivers in Bangkok. Master of Arts Program in Thai Program Education, Thonburi Rajabhat University. (in Thai).

รัชนี อินทร์มา และคณะ (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูงในคนขับรถแท็กซี่ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(3), 39-54.
Inma, R., et al (2017). Factors related to hypertension in the taxi driver Bangkok. Journal of Public Health Nursing, 31(3), 39-54. (in Thai)

วรีพรรณ หังสสูตร. (2552). ภาวะสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
hangsut, W. (2009). Health status of lower secondary school students in participating schools and do not participate in the health promotion school project: a case study of schools in Bang Khen district Bangkok. Master of arts, social development program, National Institute of Development Administration. (in Thai).

วิจิตร ระวิวงศ์, สมบุญ ยมนา, สมศักดิ์ นัคลาจารย์, กัลยา ไทยวงษ์ และนันธมน แก้วไทย. (2552). การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบศึกษาเฉพาะกรณีผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์รับจ้าง และผู้ค้าขายตลาดนัด ในเขตกรุงเทพ
มหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
Rawiwong, W., Yomna, S., Nuklachan, S., Thaiwong, G., & Keawthai, N. (2009). Education for improving the quality of working life of informal workers: a case study of motorbike drivers and flea market traders in Bangkok. Bangkok: The National Research Council of Thailand. (in Thai).

ศิริประภา พรหมมา. (2554). สภาพปัญหาของแรงงานนอกระบบในจังหวัดเชียงใหม่และมาตรการการคุ้มครองของภาครัฐไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Brahma, S. (2011). Problems of informal workers in Chiang Mai Province and protection measures of the Thai government. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
National Statistical Office. (2017). Informal Labor Survey 2017. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai).

สำนักงานสภาที่ปรึกษาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2555). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2555- 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และกระทรวงแรงงาน.
Office of social advisory council and the national economy. (2012). Strategic plan for informal worker’s management 2012-2016. Bangkok: Thailand development research Institute and the Ministry of Labor. (in Thai)

อนิรุจน์ มโนธรรม. (2558). การศึกษาปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของกลุ่มแรงงานนอกระบบ. ภูเก็ต: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
Manotham, A. (2015). A study of occupational health and safety problems in informal workers. Phuket: Faculty of Science and Technology, Phuket Rajabhat University. (in Thai).

อนุพันธ์ กรุงวัชระ. (2560) การศึกษาภาวะสุขภาพของผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะในเขตกรงุเทพและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: งานคลินิกอาชีวเวชกรรม สถาบันราชประชาสมาสัย.
Krungwacha, A. (2017). A study of the health status of public bus drivers in Bangkok and suburbs. Bangkok: Occupational Medicine Clinic, Rajpracha Samasai Institute. (in Thai).

Babara, J., Marion, G., & Mary, C. (2012). Health and safety Strategies of Urban Taxi Driver. Journal of Urban Health, 89,717-722.

Masabumi M., Shunsuke K., Yoshikazu G., Xinyu L,Kazufumi M., & Hiromoto I. (2008). Epidemiological Study of Low Back Pain and Occupational Risk Factors among Taxi Drivers. Industrial Health, 46,112-117.

Spector, P. E., & Jex, S. M. (1997). Physical Symptoms Inventory. Retrieved Febuary 1, 2019, from https://shell.cas.usf.edu/~pspector/scales/symp page.html.

Weangnon, S., Nantsupawat, W., & Hornboontherm, P. (2010). Effects of Self- management Programon Behaviors for Controlling Disease and HemoglobinA1c Level in Patients with Diabetes Mellitus Type 2. Journal of Nurses’ Association of Thailand, North-Eastern Division, 28 (4), 5-14.