ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)เพื่อส่งเสริมทักษะ การพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สำหรับครูระดับประถมศึกษา

Main Article Content

สุธน วงค์แดง
พรนภัส ทับทิมอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สำหรับครูระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาทเขต 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจสถานการณ์และความต้องการการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร 4) คู่มือและแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้โปรแกรมมูเดิ้ล (Moodle) 5) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 6) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร 7) คู่มืออบรมการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test 


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 6.41 (ร้อยละ 64.10) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.12 (ร้อยละ 81.20) และเมื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน พบว่า หลังเรียนแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) คะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ พบว่าครูผู้สอนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 10.42 (52.10%) หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 17.21 (86.05%) และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ พบว่า หลังเรียนคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษา อังกฤษในการสื่อสาร พบว่า ครูผู้สอนภาษาอังกฤษมีทักษะการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานอยู่ในระดับดี 4) ผลการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 
5) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชนันท์ โนรินทร์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 46-61.

Norintr, K. (2016). The Development of a Blended Learning Model in Enhancing Life Skills for Elementary Students. Academic Journal Uttaradit Rajabhat University, 11(1), 46-61. (in Thai)

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2557). การสอนภาษาอังกฤษด้วยเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kwangsawad, T. (2014). Teaching English with Technology. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

ปรัชญนันท์ นิลสุข และ ปณิตา วรรณพิรุณ (2554). การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารอาชีวะและเทคนิคศึกษ, 1(1), 43-49.

Nilsuk, P., & Wannaphirun, P. (2011). Blended Learning Principle into Practice. Journal of Vocational and Technical Education, 1(1), 43-49. (in Thai)

ประยูร เขียวอินทร์. ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาท. (8 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.

Kheaw-in, P. Director of Kindergarten Sanburi School. (8 July 2016). Interview.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

Ritcharoon, P. (2011). Research Methodology in Social Sciences. 5th ed. Bangkok: House of Kermyst. (in Thai)

รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Phlaengsorn, R. (2017). Science of Teaching Thai as a Foreign Language. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2561). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. ชัยนาท: ม.ป.พ.

Office of Chai Nat Primary Education Area. (2018). Annual Report in Fiscal Year 2018. Chainat: n.p. (in Thai)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.

Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines for theannouncement of the Ministry of Education on English language teaching reform policy. Bangkok: Chamchuri Products. (in Thai)

อุมาพร คาดการณ์ไกล. (2558). การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(1), 1-31.

Kardkarnklai, U. (2015). Hybrid Learning Design and Effective Components of E-Learning in English Writing Course. Silpakorn University Journal, 35(1), 1-31. (in Thai)

Driscoll, M. (2002). Blended learning: Let’s get beyond the hype. E-learning, 1(4), 1-4.

Fakhir, Z. (2015). The Impact of Blended Learning on the Achievement of the English Language Students and their Attitudes towards it. (Master’s thesis, Faculty of Arts and Sciences, Middle East University).

Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2008). Blended learning in higher education: Framework, principles, and guidelines. John Wiley & Sons.

Harmer, J. (2007). The practice of English language teaching. Harlow, England: Pearson Longman.

Horn, M. B., & Staker, H. (2011). The rise of K-12 blended learning. Innosight institute, 5.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2010). Principle of marketing. 13th ed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Liu, W. Y., & Zha, J. A. (2009). Effectiveness Study of English Learning in Blended Learning Environment. Foreign Languages and Their Teaching Journal, 10, 23-26.

Ma, W. L., & Jiang, Y. (2013). A Research into the Problems and Their Causes of Non-Language Major Tertiary-Level Students’ English Listening in Blended Teaching Model. Foreign Language and Literature, 1, 138-143.

Marsh, D. (2012). Blended Learning Creating Learning Opportunities for Language Learners. New York: Cambridge University Press.

Sejdiu, S. (2014). English language teaching and assessment in blended learning. Journal of Teaching and Learning with Technology, 3(2), 67–82.

Sharma, P., & Barrett, B. (2007). Blended Learning: Using technology in beyond the language classroom. London: Macmillan.

Sheera, N. M. A. (2015). The Effect of Using Blended Learning on Enhancing Eleventh Graders’ Speaking Skills in Khanyounes Schools. (Master’s thesis, Faculty of Education Department of Curricula & Teaching Methods, Al-Azhar University – Gaza).

Siemens, G. (2005). Connectivism: A learning theory for the digital age. International Journal of Instructional Technology and Distance Learning, 2(1): 3-10.

Stracke, E. (2007). Spotlight on blended language learning: A frontier beyond learner autonomy and computer assisted language learning. In Proceedings of the Independent Learning Association 2007 Japan conference: Exploring theory, enhancing practice: Autonomy across the disciplines. Chiba, Japan: Kanda University of International Studies.

Zhao, G. D., & Yuan, S. (2010). Factors Affecting Students’ Satisfaction in Blended Learning: the Case of Peking University. Distance Education in China, 6, 32 - 38.