การศึกษาพฤติกรรรมการซื้อและความต้องการการบริโภคสินค้าประมงอินทรีย์ บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรรมการซื้อและความต้องการการบริโภคสินค้าประมงอินทรีย์ บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรรมการซื้อและความต้องการ
การบริโภคสินค้าประมงอินทรีย์ มีการใช้แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ พบว่า
1. ด้านผลิตภัณฑ์มากที่สุด ได้แก่ บรรจุภัณฑ์น่าสนใจ ( =4.60) บรรจุภัณฑ์ทันสมัย (=4.53) สีสันสะดุดตา ( =4.51) กะปิ กุ้งแห้ง หมึกแห้ง ปลาแห้งคุณภาพดี ( =4.41)
เน้นปรุงอาหารได้หลากหลาย ( =4.32) ด้านจุดจำหน่าย ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ (=4.22) ซื้อในแหล่งผลิต (=4.09) หาซื้อได้ตามจุดพักรถ/แหล่งท่องเที่ยว (=3.99) ด้านราคา ผู้บริโภคจะพิจารณาจากความตระหนักถึงคุ้มค่าที่ได้รับ (=4.38) ราคาเหมาะสมไม่แพงจนเกินไป (=4.23) ราคาถูก (=4.05) ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคพิจารณาจากความถี่ได้รับข่าวประชาสัมพันธ์ (=3.35) มีการจัดนิทรรศการ/ออกร้านบ่อย (=4.02) ตามลำดับ
2. สิ่งกระตุ้น: ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านจุดจำหน่าย ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด พบว่าคุณภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนประมงอินทรีย์ดี ( =4.77) รสชาติอร่อย (=4.25) และสีสันสวยงาม (=4.23) ตามลำดับ
3. จากการสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการซื้อสินค้าประมงอินทรีย์ เช่น กะปิ
มีการซื้อสินค้าแล้วนำไปบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อขายต่อ มีการผสมกับสินค้าที่อื่น ทำให้กะปิแท้ของตราดขายได้ลำบากขึ้น สินค้าประมงอินทรีย์มีการทำธนาคารปู เพื่อจะได้ต่อรองราคาสูงขึ้นในปริมาณมากได้ แต่มีทางรีสอร์ทที่มารับซื้อจากชาวประมงทำให้ราคาขายสูงขึ้น แต่ในการขายชาวประมงต่างคนต่างขาย การที่ชาวประมงจับมาขายก็จะทำให้จำนวนปูลดน้อยลง
Article Details
References
กรมประมง. (2550). การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2560, จากhttps://www.fisheries. go.th/extension/group/thai/organic.htm.
Department of Fisheries. (2007). Organic aquaculture. Retrieved November 14, 2017, from https://www.fisheries.go.th/extension/group/thai/organic.htm (in Thai)
นุชนารถ มีสมพิชช์ (2552). พฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา).
Mesompit, N. (2009). The Purchasing Decision and Behavior of Customers. when Purchasing Goods from Traditional Retail Stores in Phranakhon Si Ayutthaya District. (Master’s Thesis, Phranakhon Sri Ayutthaya Rajabhat University). (in Thai)
กันยา แซ่ตั๋น. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลเกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. (2 เมษายน 2561). สัมภาษณ์.
Saetan, K. Village Headman of Village No.3, Koh Chang Sub-district, Koh Chang District, Trat. (2 April 2018). Interview. (in Thai)
สถิตย์ เงินโสม. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด. (2 เมษายน 2561). สัมภาษณ์.
Nguensom, S. Village Headman of Village No.6, Koh Kood Sub-district, Koh Kood District, Trat. (2 April 2018). Interview. (in Thai)
จังหวัดจันทบุรี. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2557, จาก https://th.wikipedia.org/ wiki/จังหวัดจันทบุรี
Chanthaburi Province. (n.d.). Retrieved April 14, 2014, from https://th.wikipedia. org/wiki/จังหวัดจันทบุรี (in Thai)
จังหวัดตราด. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2560, จาก http://www.trat.go.th/admin/ index.php
Trat Province. (n.d.). Retrieved December 12, 2017, from http://www.trat.go.th/ admin/index.php (in Thai)
Bovee, C. L. et al. (1993). Management. New York: McGraw-Hill.
Ismail, A. R., & Spinelli, G. (2012) Effects of brand love, personality and image on word of mouth: The case of fashion brands among young consumers. Journal of Fashion Marketing and Management, 16(4), 386-398.