การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม การสอนบูรณาการสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องการผลิตไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนบูรณาการสะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน เรื่องการผลิตไฟฟ้า 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนบูรณาการสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่องการผลิตไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนสามพร้าว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วทำการจับสลากเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการสอนแบบบูรณาการสะเต็มศึกษา และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนบูรณาการสะเต็มศึกษา เรื่องการผลิตไฟฟ้า 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนบูรณาการสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนบูรณาการสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
Klomim, K. (2559). Learning Management Based on STEM Education For Student Teachers. Journal of Education Naresuan University, 18(4), 334-335. (in Thai)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Ministry of Education. (2553). Core Education Curriculum 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Community of Thailand.
กาญจนา แก้วชิน. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย เรื่องโปรแกรมนำเสนอผลงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Kaewchin, K. (2554). The Development Instruction by using Multimedia Computer Assisted of Microsoft powerpoint for Pratomsuksa 5 Students. Master of Education in Curriculum and Instruction, Udon Thani Rajabhat University. (in Thai)
จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่ และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 62-74.
Intalapaporn, C., Patpol, M., Wongyai, W., and Pumsa-ard, S. (2015). The study guidelines for learning management of the STEM Education for elementary students. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 8(1), 62-74. (in Thai).
เจษฎา ชวนะไพศาล, พินดา วราสุนนัท์ และสามารถ อรัญนารถ. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณติศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางเลน. วารสารวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 297-312.
Chawanapaisarn, J., Varasunun, P., and Arunyanart, S. (2017). The Development of Mathematics Achievement in Pythagorean Theorem by integrated STEM education of students in Mathayomsukasa 2 of Banglane Wittaya School. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 10(1), 297-312. (in Thai).
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 33(2), 49-56.
Siripatharachai, P. (2013). STEM Education and 21st Century Skill Development. Executive Journal Srinakharinwirot University, 33(2), 49-56. (in Thai).
วรรณธนะ ปัดชา และ สืบสกุล อยู่ยืนยง. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ. วารสารวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(3), 830-839.
Pudcha, W., and Yooyuanyong, S. (2016). Learning Achievement on Trigonometry Ratios by using STEM Education. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 830-839. (in Thai).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014). STEM Education. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology, Ministry of Education.
Centelles, M. V., and Magnieto, R. J., (2014). ChemMend: A Card Game To Introduce and Explore the PeriodicTable while Engaging Students’ Interest. Journal of Chemical Education, 91(6), 868-871.