ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้น ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง และเปรียบเทียบการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลอง กับนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียนแบบบรรยาย ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ ในรายวิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในเรื่องการวินิจฉัยแยกโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและทดลองกลุ่มละ 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อวัดการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้น และแผนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงรายวิชาการรักษา พยาบาลเบื้องต้น หัวข้อการวินิจฉัยแยกโรคและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (paired t-test และ Independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า การใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการใช้ยารักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียนโดยใช้สถานการณ์จำลองกับนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่เรียนปกติไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กชกร ธรรมนำศีล, กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, สุปราณี น้อยตั้ง และ จินตนา อาจสันเที๊ยะ. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบ Simulation-Based Learning ต่อความรู้ด้านการรักษาโรคเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 80-88.
Thamnumson, K., Punyapet, K., Noitung, S., & Artsanthia, J. (2018). The result of the teaching and learning program Simulation-based Learning Towards Basic Medical Care Knowledge of Nursing Students. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 19(Supplement Issue), 80-88. (in Thai)
กลมรัตน์ เทอร์เนอร์ และ จรัสศรี เพ็ชรคง. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: สาระสำคัญที่ต้องรู้สำหรับการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(1), 1-15.
Turner, K., & Petchkong, J. (2016). 21st Century Skill: Essential Issues for Nursing Education Management. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 26(1), 1-15. (in Thai)
คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. (2560). คู่มือการเรียนการสอนเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
Working group to drive the development of production systems and health manpower development for reasonable drug use. (2017). Instruction booklet for reasonable drug use. Nonthaburi: Food and Drug Administration Ministry of Public Health. (in Thai)
ดวงกมล หน่อแก้ว. (2558). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงทางพยาบาลศาสตร์ศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(3), 112-122.
Nokaew, D. (2015). Learning using virtual situations in nursing education. Journal of Boromarajonani College of Nursing Bangkok, 31(3), 112-122. (in Thai)
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Khemmanee, T. (2014). Science of knowledge teaching for effective learning process management. Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University. (in Thai)
มยุรี ยีปาโล๊ะ, พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์, จงกรม ทองจันทร์, กมลวรรณ สุวรรณ และ กฤษณา เฉลียวศักดิ์. (2560). ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 18(3), 128-134.
Yeepaloh, M., Ruangroengkulrit, P., Thongjan, J., Suwan, K., & Chaleawsak, K. (2017). The effect of simulated teaching on critical thinking ability of nursing students at Boromarajonani College of Nursing, Yala. Journal of Nursing, Public Health and Education, 18(3), 128-134. (in Thai)
วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ และ ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 1-14.
Suwankiri, V., Julmusi, O., & Tangkarnwanit, T. (2016). Learning management by using simulation for nursing students. Journal of Nursing Chulalongkorn University, 28(2), 1-14. (in Thai)
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลดัส.
Wongkitrungruang, W., & Chittarerk, A. (2011). New Future Skills: Education for the 21st Century. Bangkok: Open World Publishing. (in Thai)
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, ดวงแข พิทักษ์สิน, ปิยะนาฏ ช่างเสียง และ อังคณา หมอนทอง. (2554). ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 18(2), 46-58.
Jamjang, S., Yomdit, V., Pongphetdit, B., Pitaksin, D., Changsieng, P., & Montong, A. (2010). Effects of Using Simulation-Based Learning for Preparation of Nursing Practicum on Perceptions of Self Efficacy in Performing Nursing Care in a Hospital. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 18(2), 46-58. (in Thai)
สืบตระกูล ตันตลานุกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเพิ่มความสามารถในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(ฉบับพิเศษ), 124-136.
Tantananukul, S. (2018). Development of teaching model by using simulations to increase primary care capabilities of nursing students. Journal of Boromarajonani College of Nursing Uttaradit, 10(Supplement Issue), 124-136. (in Thai)
สุพรรณี กัณหดิลก และ ตรีชฎา ปุ่นสำเริง. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(1), 1-14.
Kanthadilok, S., & Punsamrueng, T. (2016). Learning Management by Using Virtual Reality: Nursing Learning Design. Journal of Nursing and Education, 9(1), 1-14. (in Thai)
สมจิตต์ สินธุชัย และ กันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.
Sinthuchai, S., & Ubolwan, K. (2017). Learning using virtual simulation: applying to learning and teaching. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(1), 29-38. (in Thai)
Jeffries, P. R. (2005). A framework for design, implement, and evaluation simulation used as teaching strategies in nursing. Nursing education perspectives, 26(2), 96-103.
Klipfel, J. M., Carolan, B. J., Brytowski, N., Mitchell, C. A., Gettman, M. T., & Jacobson, T. M. (2014). Patient safety improvement through in situ simulation interdisciplinary team training. Urologic nursing, 34(1), 39-46.
Kolb AY, Kolb D. (2005). Learning style and learning spaces: Enhancing experimental learning in higher education. AcadManag Learn Edu J, 4(2), 193-212.