“ประทีปปูรณมีธารา” การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อรับใช้พิธีกรรมและความเชื่อ

Main Article Content

มนัญชยา เพชรูจี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง“ประทีปปูรณมีธารา” การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อรับใช้พิธีกรรมและความเชื่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ : ประทีปปูรณมีธารา ซึ่งอยู่ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีในการสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์ ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏศิลป์ไทยและการปฏิบัติการ โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อรับใช้พิธีกรรมและความเชื่อ ชุดประทีปปูรณมีธารา ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) นักแสดง 3) การออกแบบทำนองเพลง 4) การออกแบบกระบวนท่า 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบการใช้พื้นที่เวทีการแสดง การแสดงชุดนี้ สะท้อนรูปแบบของการแสดงเพื่อรับใช้พิธีกรรมความเชื่อและความประณีตละเอียดละออในการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ตั้งแต่แนวคิด ความหมายของการเคลื่อนไหวอวัยวะ ความหมายของการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง การใช้พื้นที่ องค์ประกอบทุกด้านของการแสดงและกระบวนท่ารำ โดยผลจากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ ได้นำมาซึ่งการแสดงชุด “ประทีปปูรณมีธารา” อันจะเป็นแนวทางหนึ่งของการสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อรับใช้พิธีกรรมและความเชื่อต่อไป ผลการประเมินความคิดเห็นของประชาชนที่มาชมการแสดงในภาพรวม จำนวน 200 คน พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในการชมแสดงอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, S.D. = 0.83) ด้านที่มาของการแสดง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.65, S.D. = 0.71) และด้านความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.53, S.D. = 0.67)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อเก่า-สื่อใหม่ : สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. โครงการเมธีวิจัยอาวุโสคณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kaewthep, K. (2011). Old Media - New Media: Symbolism, Identity, Ideology. Senior Research Scholar Project, Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University. (in Thai)

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม. (2562). ทรัพยากรน้ำ. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2562, จาก https://web.ku.ac.th/ schoolnet/snet6/envi2/subwater/subwater.htm.

Department of Environmental Quality Promotion Ministry of Science, Technology and Environment. Water resources. Retrieved 16 November 2019, from https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subwater/subwater.htm (in Thai)

คณะอนุกรรมการแต่งกายไทย, (2543). การแต่งกายไทย: วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

Thai Dress Subcommittee, (2000). Thai Dress: The Evolution from the Past to the Present. Bangkok: The Office. (in Thai)

ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต นาฏยศิลป์ไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Kitkhan, C. (2004). Traditional dance Male characters in royal style. (Doctoral dissertation, Chulalongkorn University). (in Thai).

ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์ และ ผุสดี หลิมสกุล. (2557). การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(1), 32-39.

Chaninwong, N., & Limsakul, P. (2014). Thai Classical Dance Design by Ajarn Suwannee Chalanukroh, National Artist, 1990. Journal of Fine Arts Chulalongkorn University, 1(1), 32-39. (in Thai)

ธรรมปิฎก, พระ(ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

Dhammapidok, Phra(Por Payutto). (2002). Phutthatham. Bangkok: Sahathammik. (in Thai)

ประทิน พวงสําลี. (2514). หลักนาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: ไทยมิตรการพิมพ์.

Phuangsali, P. (1971). Performing arts principles. Bangkok: Thai Mit Printing. (in Thai)

พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2534. (2534). กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

Chalermprakiat Dictionary 1987. (1991). Bangkok: Wattana Panich. (in Thai)

สิทธิกร มายาง. (2562). อาบน้ำเพ็ญ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2562, จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG191112094511146

Mayang, S. (2019). Full moon Bath. Retrieved 15 November 2019, from https://thainews.prd.go.th/en/news/detail/TCATG191112094511146 (in Thai)

สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2559). พัฒนาการแม่บทในนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนสุนันทา.

Photawetchakul, S. (2016). Master development in Thai dance. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University. (in Thai)

อาคม สายาคม. (2525). รวมงานนิพนธ์ ของนายอาคม สายาคม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

Sorakom, A. (1982). A report of the Arkom Sorakom. Bangkok: Fine Arts Department. (in Thai)