ตึก อาคาร แบบอาณานิคมในภาคอีสานของประเทศไทย

Main Article Content

ชวลิต อธิปัตยกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้สรุปได้ว่ารูปแบบของงานตึก อาคาร แบบอาณานิคมมีรูปลักษณ์เฉพาะคือการทำซุ้มวงโค้งแบบมีเสารองรับระหว่างช่วงเสา การทำระเบียงเป็นช่องวงรีและสี่เหลี่ยม อีกทั้งการทำบานประตูหน้าต่างแบบยาวจากพื้นจรดวงกบตามรสนิยมของฝรั่งเศสส่วนที่รับจากสถาปนิกอิตาลีและอเมริกาก็มีอยู่บ้างคือที่โรงเรียนสตรีราชินูทิศจังหวัดอุดรธานีและศาลากลางหลังเก่า จังหวัดนครพนม ที่เหลือเป็นงานช่างญวนที่รับผ่านจากฝรั่งเศสเข้ามา


การก่อสร้างใช้เทคนิคผนังรับน้ำหนัก โดยแนวคิดและขบวนการการออกแบบส่วนใหญ่ผ่านจากฝีมือช่างญวน ถึงแม้ว่าอาคารสถานที่ราชการของไทยก็ล้วนเป็นงานช่างญวนทั้งหมด หลักฐานที่ปรากฏจึงได้เป็นข้อมูลในอีสานเกี่ยวกับการก่อสร้างก่อนถึง พ.ศ. 2500 นั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ของอีสานมีการก่อสร้างตึก อาคารรวมถึงอุโบสถตามอย่างงานรูปแบบอาณานิคม ถึงแม้จะมีการประกาศใช้จากรัฐบาลให้มีรูปแบบสิ่งก่อสร้างตามอย่างเดียวกันทั่วประเทศ อาคารหลังแรกที่เก่าสุดในอีสานคือโบสถที่บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือเป็นต้นแบบในการก่อสร้างซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับนโยบายความศิวิไลซ์ ได้เริ่มขึ้นดังนั้นศาลากลางจังหวัดนครพนม จึงเป็นต้นตัวแทนความศิวิไลซ์ในอีสานแห่งแรกที่ทางราชการไทยมีส่วนข้องเกี่ยว


หลักฐานการปรากฏสิ่งก่อสร้างตัวแทนความเจริญทันสมัย จึงสอดรับกับรสนิยมของงาน ก่อสร้างแบบอาณานิคมที่ช่างญวนได้เป็นแรงงานหลักในการการก่อสร้าง ซึ่งมีความคุ้นชินมากกว่าคนอีสานเจ้าของพื้นที่ นโยบายดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยหลักผสมปะปนกับช่างฝีมือจึงทำให้การปรากฏอาคารแบบอาณานิคมได้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

ชวลิต อธิปัตยกุล. (2556). สิมญวนในอีสาน. อุดรธานี: เต้า-โล้.
Atipattayakul, C. (2013). Vietnamese Influenced Ordination Halls in Northeast Siam. Udon Thani: Tao-Lo. (in Thai)

ผสุดี จันทรวิมล. (2541). เวียดนามในไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Chandavimol, P. (1998). The Vietnamese in Thailand. Bangkok: Thammasat University. (in Thai)

สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2553). สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในสยาม สมัยรัชกาลที่ 4-พ.ศ. 2480. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป.
Jungsiriaruk, S. (2010). Western Architecture in Siam, Rama 4 period – 1937. Bangkok: Amarin Printing Group. (in Thai)

สุจิตต์ จันทรสาขา. (2545). ญวน (เวียดนาม) อพยพ. ศิลปะวัฒนธรรม 23, 7 พฤษภาคม. www.https://dondaniele.blogspot.com/2015/04
Chantarasakha, S. (2002). Annamese (Vietnamese) Migration. Arts and Culture 23, 7 May. www.https://dondaniele.blogspot.com/2015/04. (in Thai)