การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา

Main Article Content

ประดิษฐ์ ปะวันนา

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาใน 6 ด้าน คือ ด้านความมีระเบียบ ด้านความรับผิดชอบด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ ด้านความอดทน อดกลั้น และด้านความพอเพียง โดยจำแนกตามเพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันการพลศึกษา ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่


            ผลการวิจัยพบว่า


1. นักศึกษาสถาบันการพลศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม โดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก


2. นักศึกษาชายและหญิงของสถาบันการพลศึกษา มีคุณธรรม จริยธรรม โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน


3. นักศึกษาสถาบันการพลศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีคุณธรรม จริยธรรม โดยรวมและรายด้าน ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเสียสละ ด้านความอดทน อดกลั้น และด้านความพอเพียง ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ที่นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีระดับคุณธรรม จริยธรรม แตกต่างจากนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรภา คำทา และ สมบัติ วรินทรนุวัตร. (2559). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2), 1962–1978.

Khamta, J., & Warintornnuwat, S. (2016). A study of virtue and morality of students faculty of business administration at Thai-Nichi Institute of Technology. Veridian E–Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts). 9(2), 1962–1978.

ธันยพร บุษปฤกษ์. (2551). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเยาวชนในสังคมไทย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์พระนครเหนือ. (สารนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Busapaleark, T. (2008). Ethical behavior of juveniles in Thai society: A case study of students at Rajamangala University of Technology, Phra Nakhon North Bangkok Center. (Master of Arts thematic paper, Ramkhamhaeng University). (in Thai).

นิตยา ก่ำทา. (2548). การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

kamtha, N. (2005). A study of the ethical behavior of Ramkhamhaeng University. (Master of education thesis, Ramkhamhaeng University). (in Thai).

วิยะดา วรรณขันธ์. (2560). การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี (รายงานการวิจัย). อุดรธานี: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี.

Wannakhan, W. (2017). A study of moral and ethics of students at Institute of Physical Education Udonthani Campus. (Research report). Udonthani: Institute of Physical Education Udonthani. (in Thai).

ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2552). พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Hutem, S. (2009). The ethical behavior of students in Ratchaphruek College. (Research report). Nonthaburi: Ratchaphruek College. (in Thai).

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.bps.moe.go.th/web2018/2018/07/05/

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2017). Moral and ethics education of students in academy, Ministry of Education. Retrieved February, 4, 2019, from http://www.bps.moe.go.th/web2018/ 2018/07/05/

อรพินท์ สันติชัยอนันต์. (2549). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบัน อุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Santichaianant, O. (2006). A study of virtue and morality of university students in Bangkok and its vicinity. (Master of education thesis, Srinakharinwirot University). (in Thai).

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. 4th ed. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.