ผันเปลี่ยนหมุนเวียน: ทุนในสังคมอีสานยุคไทยแลนด์ 4.0

Main Article Content

ประภาพร สุปัญญา

บทคัดย่อ

            บทความวิชาการ เรื่อง ผันเปลี่ยนหมุนเวียน: ทุนในสังคมอีสานยุคไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การใช้และการผันทุนของคนในสังคมอีสานยุคใหม่ ภายใต้แนวคิดเรื่องทุนของ Pierre Bourdieu ในบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยที่ก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพบว่า สังคมอีสานยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และเทคโนโลยี ด้วยอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยม ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับ “เงินตรา” ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนอีสานเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น “ทุน” จึงเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตมากขึ้น ทั้ง 1) ทุนเศรษฐกิจ คือ เงินและทรัพย์สินที่นำไปลงทุนได้ 2) ทุนสังคม คือเครือข่ายความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ซึ่งเป็นจุดเด่นในสังคมอีสาน 3) ทุนวัฒนธรรม คือ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ การศึกษา อาชีพ รวมถึงขนบที่อยู่กับคนอีสาน ทำให้เกิดการเอาตัวรอดอย่างมีกลวิธี และ 4) ทุนสัญลักษณ์ ที่กล่าวถึงตำแหน่ง การยอมรับ และอำนาจ ซึ่งเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในสังคมอีสานยุคใหม่ โดยทุนทั้ง 4 ชนิดนี้ สามารถเลื่อนไหลและ “ผัน” ไปมาหากันได้อย่างเป็นพลวัต ผ่านการใช้และการสะสม เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และดำรงชีพในสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ / ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ชลิต ชัยครรชิต. (2557). พลังวัฒนธรรม ในศิลปะอีสาน. โสวัฒนธรรมอีสานในงานวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะสังคมศาสตร์, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา.

ชูชาติ เตชะโพธิวรคุณ. (2561). การศึกษาความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยด้วยเครื่องมือเชิงประจักษ์: กรณีศึกษาชานเมืองด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 22(1), 15-26.

ณัฐพล มีแก้ว. (2562). ความมั่นคงการดำรงชีพของครัวเรือนในถิ่นต้นทางของแรงงานย้ายถิ่นอีสานใต้ในอุตสาหกรรมประมงทะเล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐวรรธ อุไรอำไพ, กีรติพร จูตะวิริยะ และ จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2561). ทุน : การสร้างเครือข่ายทางสังคมของคนไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดนครพนม. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 35(1), 1-16.

ดุษฎี อายุวัฒน์ วณิชชา ณรงค์ชัย และ อดิเรก เร่งมานะวงษ์. (2562). ความสุขของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพย์สุดา ปรีดาพันธุ์. (2560). ความมั่นคงของผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยพงษ์ บุญกว้าง. (2556). ความมั่นคงของครัวเรือนแรงงานย้ายถิ่นไปทำงานต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภาพร สุปัญญา. (2563). ลีลาชีวิตของคนชานเมืองในช่วงชั้นทางสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

เยาวลักษณ์ แสงจันทร์ และ ชัยณรงค์ ศรีมันตะ. (2560). ผญาภาษิต: ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมสกลนคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(48), 79-100.

รัตนา จันทร์เทาว์ และ เชิดชัย อุดมพันธ์. (2560). ชื่ออาหารท้องถิ่นอีสานและภาคใต้ : มุมมองด้านอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9(1), 63-89.

วณิชชา ณรงค์ชัย. (2559). การเลื่อนชั้นทางสังคมของครัวเรือนชนบท ภายหลังการถ่ายโอนทุนระหว่างรุ่นวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2558). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2561). ความท้าทายในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Auraiampai, N., Ayuwat, D., & Jampaklay, A. (2021). Capital Accumulation of Return Migrant Work Aboard, Migration Studies, 8(4), 78-92.

Bourdieu, P. (1984). Distinction: A Social Critique of the Judgment of Taste. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Bourdieu, P. (1986). “The Forms of Capital,” In Handbook of Theory and Research for the Sociology of Education. Richardson J.G. (ed.). New York: Greenwood Press.

Bourdieu, P. (1998). Practical Reason: On The Theory of Action. Cambridge, U.K.: Polity Press.

Bourdieu, P., & Wacquant, L. (1992). An Invitation to Reflexive Sociology. Chicago, IL.: The University of Chicago Press.

DFID. (2009). Sustainable Livelihoods Guidance Sheets. London: Department for International Development (DFID).

Jutaviriya, K., Auraiampai, N., Cadchumsang, J., & Ayuwat, D. (2020). Social Networks: The Utilization of Capitals for Vietnamese-Thai in the Border of Thai-Lao. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 13(2), 523-532.

Meekaew, N., & Ayuwat, D. (2020). Livelihoods and Food Security of the Migrant Households in the rural community of the Lower northeastern Region of Thailand. Sys Rev Pharm, 11(6), 1311-1319.

Narongchai, W., Ayuwat, D., & Chinnasri, O. (2016). The Changing of Intergenerational Transfers of Economic Capital in Rural Households in Northeastern, Thailand. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37(2), 46-52.

Parnwell, M. (2017). Neolocalism and Renascent Social Capital in Northeast Thailand. Environment and Planning D: Society and Space, 25(6), 990-1014.

Savage, M., Warde, A., & Devine, F. (2005). Capital, assets, and resources: some critical issues. The British Journal of Sociology, 56(1), 31-47.

Supunya, P., & Ayuwat, D. (2019). Social Capital and Social Class in Sub-Urban Community of Thailand. Communications on Stochastic Analysis, 13(6), 99-108.

Supunya, P., & Ayuwat, D. (2018). Criteria Classification of Class in the Suburbs: A Case Study of the Northeastern Region of Thailand. World Conference on Social Sciences, Technology & Innovation (WSTI2018), Kuala Lumpur, Malaysia.

Thongyou, M., Sosamphanh, S., Chamaratana, T., & Phongsiri, M. (2014). Perception on Urbanization Impact on the Hinterlands: A Study of Khon Kaen City. Asian Social Science, 10(11), 33 - 41.

United Nations. (2015). World Urbanization Prospects: The 2014 Revision. New York: Economic and Social Affairs.