การรับรู้ของภาคีการท่องเที่ยวตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ปรเมษฐ์ บุญนำศิริกิจ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารข้อมูลของภาคีการท่องเที่ยวในการเตรียมการรองรับการพัฒนาของการท่องเที่ยวต่อโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษาระดับการรับรู้ของแนวคิดด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของภาคีการท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดทำแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ภาคีการท่องเที่ยวที่ปฏิบัติงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 386 ตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ผลการวิจัยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอนุมานประกอบด้วยสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย ระดับความคิดเห็นของภาคีที่เกี่ยวข้องกับด้านการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างระดับมากถึงปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่า ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและแผนพัฒนาการท่องเที่ยว ทั้งภาพรวมและปัจจัยรายด้านได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยว ด้านการสร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยว และด้านการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ประกาศคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก http://www.mots.go.th/ewt_dl_link. php?nid=7705

กุสุมา ภูเสตว์. (2553). การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

บัวผิน โตทรัพย์, พวงเพ็ญ ชูรินทร์, จิตติมา จ้อยเจือ และ อโศก ศรีสวัสดิ์. (2562). การศึกษาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ : กรณีศึกษาชุมชนพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 13(2), 190-220.

พิมพิกา นวนจา และ ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2563). ภาคีเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 11(2), 29-54.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และ พนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงค่า IOC. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

มาฆะ ขิตตะสังคะ, วิทยา วรรณศิริ, อัศวิน จุมปา, ภาคภูมิ ตั๋นพิงค์, ณัฐธิดา จุมปา และ ดวงรัตน์ อินพรหม. (2549). บทเรียนจากกระบวนการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยว โดยภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดการเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืนจังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.),สำนักงานประสานงานการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน.

วัชรา บุรีศรี. (2551). กระบวนการและเครือข่ายการสื่อสาร เพื่อการจัดการสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อุทยานแห่งชาติตะรุเตา และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวัณย์ เรืองปฏิกรณ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ เพื่อการสื่อสารการตลาด กับความรู้ทัศนคติ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวไทย ในโครงการไทยเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ.2560 - 2564) รายงานหลัก. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563, จาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/ untitled%20folder/EEC010.pdf

สุกานดา สายทรัพย์. (2553). การวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแบบบูรณาการในจังหวัดขอนแก่น. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุวัต เชื้อเย็น. (2551). การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดลำพูนอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร. 44(1), 36-42.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Salkind, N. J. (2000). Exploring Research. Michigan: Prentice Hall.