ผลกระทบและการรับมือต่อการแพร่ระบาดโควิด-19 (ระลอก 1) ของครัวเรือนเกษตรกร กรณีศึกษา บ้านโนนศิลา ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สุกัลยา เชิญขวัญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบ ของการระบาดเชื้อโควิด-19 ต่อครัวเรือนเกษตรกร และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการรับมือของครัวเรือนเกษตรกรต่อผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครัวเรือนเกษตรกร บ้านโนนศิลา ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2563 ขนาดตัวอย่างในการศึกษาเท่ากับ 82 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกรมีความหลากหลาย โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากนอกภาคการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 67.9 ของรายได้ครัวเรือนทั้งหมด ผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 มากนัก เนื่องจากอยู่นอกฤดูกาลเพาะปลูก มีเพียงเกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูปและเมลอน ร้อยละ 9.7 ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากอยู่ในช่วงการเก็บเกี่ยวและจำหน่าย รายได้นอกภาคเกษตรลดลง เนื่องจาก การปิดโรงงาน แนวทางการรับมือของเกษตรกรกรส่วนใหญ่ต่อการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แก่ เอาเงินเก็บออกมาใช้ (ร้อยละ 62.2) ปลูกพืชสวนครัวเพื่อบริโภค (ร้อยละ 65.9) การเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่อมีกิจกรรมในชุมชน (ร้อยละ 100) และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้านและเข้าที่ชุมชน (ร้อยละ 100)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. กลุ่มโรคติดต่อระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/1)%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%20covid%20(15%20%E0%B8%A1%E0%B8%8464cp).pdf
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563, จาก http://farmer.doae.go.th/
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์วุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย จากโรคติดต่อเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) และข้อเสนอแนะเพื่อขัดเคลื่อการพัฒนาภาคเกษตร ภายใต้ แผนยุทธศาสตร์ชาติตามสถานการณ์. สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563, จากhttps://www.senate.go.th/document/mSubject/Ext85/85843_ 0001.PDF
จิตเกษม พรประพันธ์. มณฑลี กปิลกาญจน์. นันทนิตย์ ทองศรีและพรชนก เทพขาม. กิจการเสี่ยงและมาตรการดูแลภายใต้ผลกระทบของ โควิด-19. ธนาคารแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก, https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Apr2020.aspx
มณฑลี กปิลกาญจน์. พรชนก เทพขาม. นันทนิตย์ ทองศรี และพัชยา เลาสุทแสน. (2563). ผลกระทบโควิด 19 ต่อตลาดแรงงานไทย. สำนักงานสถิติแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2563. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Oct2020.aspx
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการสำรวจ ข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2563 ทั่วราชอาณาจักร. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564 จาก shorturl.at/joAD8
โสมรัศมิ์ จันทรัตน์, ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์, อัจจนา ลํ่าซํา, ลัทธพร รัตนวรารักษ์, บุญธิดา เสงี่ยมเนตร และ ชนกานต์ ฤทธินนท์. (2563). ครัวเรือนเกษตรกรไทยในวิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563. จาก, https://www.pier.or.th/wpcontent/ uploads/2020/05/aBRIDGEd_2020_011.pdf
Grandstaff, T.B., Grandstaff S., Limpinuntana, V. and Suphanchaimat, N. (2008). Rainfed Revolution in Northeast Thailand. Southeast Asian Studies, 46(3), 289-376.
Shirai, Yuko and Rambo, A Terry. (2017). Household structure and sources of income in a rice-growing village in Northeast Thailand. Southeast Asian Studies, 6(2), 281-282.
The active. (2563). เปิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโควิด-19 ต่อครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยในชุมชนเกษตรกรรม. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2564, จาก https://theactive.net/data/public-forum-20200623/
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.