ต้นทุนและผลตอบแทนผ้าซิ่นหัวแดงตีนก่านในจังหวัดเพชรบูรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษากระบวนการทอผ้าซิ่น (2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนผ้าซิ่นโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มทอผ้าใน อ.หล่มสัก และ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 6 กลุ่ม
ผลการศึกษา พบว่า (1) ซิ่นหัวแดงตีนก่าน ประกอบด้วย หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น วัสดุที่ใช้ในการทอมีทั้งไหม ด้ายประดิษฐ์ และ ด้ายประดิษฐ์ผสมไหม สำหรับกระบวนการทอแบ่งเป็น หัวซิ่น เป็นส่วนที่อยู่บนสุดส่วนใหญ่นิยมใช้การมัดย้อม โดยพื้นเป็นสีแดง ลายเป็นสีขาว ส่วนตัวซิ่น ถือเป็นส่วนที่สำคัญเพราะต้องใช้วิธีการมัดหมี่และนำไปย้อมซิ่น 1 ผืน จะมัดหมี่จำนวน 7-12 ลาย จากนั้นนำไปทอจนเกิดลวดลาย และตีนซิ่น เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของซิ่นเป็นการทอผ้าลายขวาง และใช้โทนสีเดียวกับตัวซิ่น (2) ซิ่นไหมมีต้นทุนมากที่สุดเฉลี่ยต่อผืนเท่ากับ 1,490.97 บาท โดยต้นทุนส่วนใหญ่เกิดจากค่าเส้นไหมและค่าแรงงานในการมัดย้อมและทอ (3) ซิ่นไหมมีกำไรเฉลี่ยต่อผืนเท่ากับ 1,009.03 บาท อีกทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนต่อยอดขายร้อยละ 40.36 และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.68 เท่า และมีระยะเวลาคืนทุน 5 เดือน โดยซิ่นหัวแดงตีนก่านไหมได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด และคืนทุนเร็วที่สุด จากผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจผ้าทอถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุน
Article Details
References
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (2563). อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563, จาก https://www.smebank.co.th/ interest-rates/loan-interest-rates-and-discounts.
ธันยา คำมี. (2561, 14 มกราคม). ซิ่นหมี่คั่นน้อยหรือซิ่นหัวแดงตีนก่าน. มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทหล่มกลุ่มมูลมังท่ากกแก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์. สัมภาษณ์.
นุชษรา พึ่งวิริยะ. (2557). การจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในจังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์ (ไทหล่ม). (2561). การนุ่งซิ่นไทหล่ม. พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์ (ไทหล่ม) ตำบลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์.
พิมพ์พิสุทธิ์ ศรีมณีสวัสดิ์, วรรณภา ประนาเส, ณัฐริกา ลุงไธสง, พรพิมล ตงทอง, สุพัตรา รักการศิลป์ และ ผกามาศ มูลวันดี. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการทอผ้าซิ่นตีนแดงด้วยเส้นด้ายประดิษฐ์ของชุมชนบ้านคูบอน ตำบลคูเมือง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(1), 95-103.
วรรณา โชคบันดาลสุข, กุลยา อนุโลก และ วรลักษณ์ ทองประยูร. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับผ้าทอพื้นเมืองไทยทรงดำในจังหวัดราชบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 62-73.
วีรนันท์ พาวดี. (2558). ต้นทุนและผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองลายภูเขาทอง กลุ่มเย็บผ้าบ้านสันหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.