สถานะของ “วิชาชีพครู” ในปัจจุบัน

Main Article Content

ปุณรัตน์ พิพิธกุล
นันทภูมิ เกษลา
ลินดา จันทะชิด
วันวิสา ป้อมประสิทธิ์
อรอุมา เชษฐา
พงศธร สุกิจญาณ

บทคัดย่อ

            การศึกษาเป็นมรดกตกทอดในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของสมาชิกในสังคม 
นับจากโบราณมาผู้คนในชุมชนและสังคมนั้นต่างเป็นครูของกันและกัน ดังนั้นการศึกษานับจากอดีตถึงปัจจุบันมีความสำคัญต่อชีวิตบุคคลที่จะช่วยให้บุคคลมีความคิด มีเหตุผล 
มีความสามารถในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ เป็นการขัดเกลาบุคคลด้วยการอบรมสั่งสอนให้สมาชิกใหม่ในสังคมรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสม การศึกษาจึงเป็นกระบวนการส่งเสริมบุคคลให้เจริญเติบโตมีความเจริญงอกงามรอบด้าน พัฒนาสู่การเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการพัฒนาตนเองต่อเนื่องตลอดการมีชีวิต


            การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้น การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยเป็นหน้าที่ของ “ครู” บุคลากรวิชาชีพทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษา เพราะครูนั้น คือ ผู้มีหน้าที่จัดการศึกษาซึ่งเป็น กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรค์การจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ สร้างปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด


            สถานะของวิชาชีพครูในปัจจุบันจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพ ฝึกหัดบุคคลให้มีทักษะในการพัฒนาตนเองและสามารถพึ่งพาตนเองได้ พัฒนาจิตใจให้สูง สามารถคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น มีจริยธรรมต่อการคิดและการกระทำของตนเอง รวมถึงการพัฒนาความรู้ให้มีสติและปัญญา สามารถคิดพิจารณาไตร่ตรองในการตัดสินใจได้ด้วยกระบวนการของศาสตร์การสอน รวมไปถึงจะต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอยู่เสมอเพื่อรอบรับการพัฒนาในอนาคตให้สอดคล้องกับกฎหมาย สำหรับการดูแลวิชาชีพครูที่เหมาะสมและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังจากสังคม

Article Details

บท
บทความวิชาการและบทความปริทัศน์

References

ถนอม อินทรกำเนิด. (2562). พัฒนาการการฝึกหัดครู. สุนทรพจน์งาน “เหลียวหลังแลหน้า การฝึกหัดครูไทย”. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2552). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2546). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

วุฒิชัย มูลศิลป์. (2554). สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล”. (2561). ครู/อาจารย์และการศึกษาไทยในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/survey_ detail?survey_id=150

สาโรช บัวศรี. (2552). รากแก้วการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนทร สุนันท์ชัย. (2552). การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.