การพัฒนาศักยภาพการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของนิสิต

Main Article Content

รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสม (mixed method) ในสาขาวิชาภาษาไทยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดและพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตปริญญาตรี ในรายวิชา มศว 258 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) ด้วยการจับสลากกระทั่งครบตามที่ต้องการคือ 24 คน ระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดของผู้เรียน ผลการศึกษาพบข้อบกพร่องการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดใน 4 ด้าน เรียงลำดับข้อบกพร่องที่พบมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ 1 การใช้เสียงประกอบการพูด (Tone of Voice) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.83 ข้อบกพร่องลำดับที่ 2 คือ การใช้สายตาประกอบการพูด (Eye Contact) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 ข้อบกพร่องลำดับที่ 3 คือ การใช้มือประกอบการพูด (Gestures of Hands) 
มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.58 และข้อบกพร่องลำดับที่ 4 คือ การใช้ท่าทางประกอบการพูด (Posture) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.63 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ระยะที่สองผู้วิจัยนำผลการศึกษาระยะที่หนึ่งมาออกแบบเกมการศึกษาโดยใช้แนวคิด Game Based Learning หรือ GBL เพื่อพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาของผู้เรียน ระยะที่สามสรุปผลการวิจัยว่าก่อนที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาผู้เรียนมีคะแนนภาคปฏิบัติการใช้อวัจนภาษาประกอบการพูดคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.50 ส่วนผลประเมินภาคปฏิบัติการหลังได้รับการพัฒนาการสื่อสารเชิงอวัจนภาษาผ่านเกมการศึกษา พบว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.96 จากคะแนนเต็ม 20 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพบว่าหลังการพัฒนาผู้เรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนการพัฒนาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 9(1), 64-71.

บัณฑิกา จารุมา และ พยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 414-428.

ปอรรัชม์ ยอดเณร. (2561). การพัฒนาอวัจนภาษาในการสื่อสารผ่านกระบวนการสื่อสาร การแสดง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณาฉบับพิเศษ ฉบับพิเศษเรื่อง “ทัศนคติ ความพึงพอใจ กับการสื่อสารผ่านสื่อที่แตกต่าง”, 11, 15-25.

พรรณทิพา ชเนศน์. (2561). การพัฒนาศิลปะการพูดในที่ชุมชนด้วยหลักพุทธจิตวิทยา “พละ5”. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 65-74.

ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2554). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 228102 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมชาติ กิจบรรยง. (2546). ศิลปะการพูดสำหรับผู้นำ. กรุงเทพฯ: เอ็มไอทีคอนซัลติ้ง.

สมจิต ชิวปรีชา. (2540). วาทวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์ รุ่งแจ้ง. (2556). การพูดในที่ชุมชน : เทคนิคและการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

Mehrabian, A. (1972). Nonverbal communication. Chicago: Aldine Artherton.

Lumsden, G. & Lumsden, D. (2003). Communication with credibility and confidence:Diverse people, diverse setting. Belmont, CA: Wadsworth.

Silverman, D. (2013). How to learn board game design and development. Retrieved April12, 2016, from http://gamedevelopment.tutsplus.com/ articles/how-to-learn-board-game-design-and-development--gamedev-11607.