แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนบ้านป่าหวาย ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชมพูนุท สงกลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าหวาย 2) ศึกษาพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าหวาย และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการขยะฝอยในโรงเรียนบ้านป่าหวาย ตำบลตาดทอง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 53 คน ผู้บริหารและครูในโรงเรียน จำนวน 5 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลและการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ระดับสูงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.02 กลุ่มเป้าหมายตอบคำถามได้ถูกต้องในแต่ละข้อมากกว่าร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องขยะทั่วไปควรกำจัดด้วยวิธีการเผาน้อยที่สุด ตอบถูกร้อยละ 13.21 กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.95 ข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด และคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อยคือ นักเรียนเคยกำจัดขยะโดยวิธีการเผา เช่น เผาถุงพลาสติก กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เป็นต้น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 ข้อแสนอแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยภายในโรงเรียนคือ 1) ปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนมีการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง ส่งเสริมกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมอย่างความต่อเนื่อง 2) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย และนำหลัก 3R มาใช้ในการจัดการขยะมูลฝอย 3) สร้างพื้นที่คัดแยกขยะให้มีหลังคา และสร้างเตาเผาขยะแบบไร้ควัน 4) อบรมบุคลากรและนักเรียนในการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปี 5) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการที่มีอยู่แล้วในโรงเรียนให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ใช้ประโยชน์ได้ทั้งในโรงเรียนและชุมชน 6) โรงเรียนร่วมมือกับชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 7) ส่งเสริมการวิจัยด้านการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนและในชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์ จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยาณี อุปราสิทธิ์. (2558). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(2), 163–171.

ชมพูนุท สงกลาง. (2557). พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาดี - สร้างบง ตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการ การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557, หน้า 532–539. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธีรพันธ์ เชิญรัมย์. (2563). องค์การแห่งการเรียนรู้: การเรียนรู้จากการปฏิบัติ. วารสารวิจัย วิชาการ, 3(1), 185–196.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่9). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

วันวิสาข์ คงพิรุณ, สรัญญา ถี่ป้อม, และ วิโรจน์ จันทร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตำบลแก่งโสภา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 310–321.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 (อุดรธานี). (2563). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2559 (เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม). อุดรธานี: สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 (อุดรธานี).