กระบวนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

วินัย มีแสง
หวานใจ หลำพรม
ณัฏฐนันธ์ สุวรรณวงก์
เอราวัณ เบ้าทอง

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Community Action Research: CAR) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษา ทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี กรอบแนวคิดในการวิจัยได้แก่ ศักยภาพของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนและการวิเคราะห์ชุมชนแบบการมีส่วนร่วม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลโดยการสังเกต บันทึกการดำเนินงานของชุมชนและสัมภาษณ์สมาชิกที่เข้าร่วมในกิจกรรมใช้เวลา 1 ปี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บริบทของชุมชนต่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พบว่า ชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดี
ต่อกันลักษณะเครือญาติมีการช่วยเหลือเกื้อกุลกันตลอดเวลามีประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม 
มีภูมิปัญญาชาวบ้าน มีผู้นำที่มีความสามารถและเมื่อมีปัญหาชุมชนมีกลไกทางสังคมที่ดีในการช่วยแก้ไขปัญหา ชุมชนมีทุนในชุมชนครบทุกด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการที่มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพชุมชนและกลุ่มอาชีพนำมาสู่การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและศึกษาแนวทางที่เหมาะสม นำสู่การสร้างแผนปฏิบัติการและแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม 2. ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต
และการเปลี่ยนแปลงชุมชนรอบทะเลบัวแดงหนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี พบว่า 
ด้านเศรษฐกิจและสังคมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยทะเลบัวแดงทำให้ชุมชนน่าอยู่มากที่สุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.88 ด้านที่อยู่อาศัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีความพอใจในด้านขนาดที่อยู่อาศัยเมื่อเทียบกับสมาชิกในครัวเรือนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการเห็นด้วยในระดับปานกลาง โดยทะเลบัวแดงทำให้มีผลต่อความสะอาดในหมู่บ้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.57 ด้านอาชีวอนามัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเห็นว่าทะเลบัวแดงทำให้มีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.80 ด้านคุณภาพชีวิตพบว่ามีความพึงพอใจในระดับมากโดยพึงพอใจสภาพแวดล้อมสังคมโดยรวมในชุมชนมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.09 ตามลำดับ 3. การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พบว่า ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อรายจ่าย รองลงมาคือต้นทุนการเกษตรมีราคาแพง ส่วนเป้าหมายของชุมชนคือ 1) ชุมชนต้องการกินดีอยู่ดีมีแฮงมีศีลมีธรรม 2) การสร้างโครงสร้าง/กลไกพื้นฐานเพื่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ พบว่า จุดแข็งของชุมชนคือเรื่อง การมีผู้นำที่ดีมีความเสียสละ มีความเมตตา มีคุณธรรม และมีความสามัคคีในหมู่คณะ รองลงมาคือมีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่รวมตัวกันทั้งแบบเฉพาะกิจและแบบที่มีหน้าที่ชัดเจนที่เข้มแข็งจุดอ่อนของชุมชนคือ ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อเด็กในการดื่มสุรา รองลงมาคือวัยรุ่นขับรถเสียงดัง 3) การทำโครงการร่วมกันโดยจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการจัดทำคู่มือภูมิปัญญาในการจับสัตว์น้ำและครูพี่เลี้ยงเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติยา บำบัดภัย. (2543). บทบาทของประชาชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ กรณีศึกษาหนองละเลิงเค็ง ตำบลดงเค็ง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุรินทร์ แก้วประพันธ์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี.

ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช. (2552). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่: กรณีศึกษา บ้านสบยาบ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน : พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Mongkhonittivech, S. (2009). Process of developing community capacity for healthy city: a case study of ban sop yap, Chiang Saen District, Chiang Rai Province. Master Thesis, Chiang Mai University. (in Thai)

Kanchanaphan, A. (2001). Complex Thinking Methods in Community Research: Dynamics and Community Potential for Development Bangkok: Thailand Research Fund. (in Thai)