ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

Main Article Content

กษมา ประสงค์เจริญ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาภาวะผู้นำ และเพื่อหารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ ของผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรของวิทยาลัยนาฎศิลป จำนวน 11 แห่ง และวิทยาลัยช่างศิลป จำนวน 3 แห่ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 441 คน ปีการศึกษา 2563 และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 14 คน และการประเมินคุณภาพ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 


1. ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.08 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15


2. ปัญหา คือ มีการประชุมบุคลากรค่อนข้างน้อย การประสานงาน และการสื่อสารไม่มีความชัดเจนและข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ มีการบริหารเชิงระบบ มีการประชุมหารือ วางแผนการบริหารจัดการร่วมกัน มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการทำงาน 
มีการสร้างบรรยากาศและมีความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร


3. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำมืออาชีพ มีความโดดเด่นจำนวน 9 ข้อ ภาวะผู้นำแบบมืออาชีพ จำนวน 11 ข้อ และผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน มีความเหมาะสมและมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 93.00 – 99.00 และพฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์ มีความเหมาะสมและมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 94.00 – 97.00 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา พรมทิพย์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2). 79-90.

ทวีภรณ์ วรชิน, สมเจตน์ ภูศรี และ เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ. (2016). รูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24. วารสารการบริหารปกครอง, 5(2), 146-164.

นพดล เหลืองภิรมย์. (2556). แนวคิดการจัดคนให้เหมาะสมกับงานและการแบ่งงานในบริบทที่แตกต่างกัน แนวคิดนี้ยังคงใช้ได้หรือไม่ ในยุคสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 1(1), 83-91.

บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรี ธรรมราช.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2551). คนสำราญ งานสำเร็จ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ธรรมะ.

พรศักดิ์ คำทอง. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในวิทยาลัยชุมชน กลุ่มภาคเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.

พูนศักดิ์ ไชยคำจันทร์. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 272-293.

ราชกิจจานุเบกษา. (2550). พระราชบัญญัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ.2550 เล่ม 124 ตอนที่ 32. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วิเชียร วิทยอุดม. (2553). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

วินนารัชน์ ชัยวิทยนันต์ และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2561). การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. กรุงเทพฯ. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 159-167.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2547). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี.บี.ฟอเรน บุ๊คส์เซ็นเตอร์.