การวิเคราะห์สำนวนจีนและโครงสร้างวลีสำนวนจีนที่สะท้อนอุปนิสัยและพฤติกรรม กรณีศึกษาหนังสือสำนวนยอดฮิตติดปากชาวจีน

Main Article Content

แตงเถา กุ้งแก้ว

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดประเภทสำนวนจีนที่มีที่มาจากอุปนิสัยและพฤติกรรม ศึกษาโครงสร้างวลีและจัดประเภทวลีของสำนวนจีน ข้อมูลที่ใช้ศึกษามาจากหนังสือสำนวนยอดฮิตติดปากชาวจีนของอาศรมสยาม-จีนวิทยา ผลการศึกษาพบว่า สำนวนจีนที่มีที่มาจากอุปนิสัย แบ่งประเภทย่อยได้ดังนี้ 1) อุปนิสัยขี้อิจฉา 2) อุปนิสัยเจ้าเล่ห์ 3) อุปนิสัยขี้อวด โอ้อวด 4) อุปนิสัยโง่เขลา 5) อุปนิสัยประจบสอพลอ 6) อุปนิสัยเอาเรื่องไม่ยอมลดละ 7) อุปนิสัยใจร้าย และ 8) อุปนิสัยดื้อรั้น สำนวนจีนที่มีที่มาจากพฤติกรรม แบ่งประเภทย่อยได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมของคนที่รักศักดิ์ศรี 2) พฤติกรรมของคนที่สะเพร่า 3) พฤติกรรมของคนที่ขี้เหนียว 4) พฤติกรรมของคนที่เห็นแก่ตัว และ 5) พฤติกรรมของคนไม่เอาไหน สำหรับโครงสร้างวลีของสำนวนจีน ผลการศึกษาพบว่ามีโครงสร้างวลีเพียง 6 ชนิด ได้แก่ 1) วลีรวมความ (联合词组) 2) วลีบทประธาน-กริยา (主谓词组) 3) วลีกริยา-กรรม (动宾词组) 4) วลีขยายความ (偏正词组) 5) วลีตัวเลข-ลักษณนาม (数量词组) และ 6) วลีบุพบท (介词词组) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิกนันต์ โยธานะ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบสํานวนจีนที่มีคําว่า “chī” กับสํานวน ไทยที่มีคําวา “กิน”. วารสารจีนศึกษา, 6(6), 145-181.

จดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (ลำดับที่ 189 เดือนเมษายน 2561). (2561). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.arsomsiam.com/download/%e0%b8%9b%e8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c189/?wpdmdl=3663&refresh=61fbf84e577191643903054.

เธียรชัย เอี่ยววรเมธ. (2559). พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 33. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

พิริยา สุรขจร. (2544). สำนวนจีนและสำนวนไทยที่มีคำเกี่ยวกับสัตว์: การศึกษาเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วนิดา ตั้งเทียนชัย. (2550). สำนวนจีน: โครงสร้างทางภาษาและเจตนาการใช้ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สรวง สิทธิสมาน. (2563). เมื่อวัฒนธรรม “รักหน้ายิ่งชีพ” ของคนจีนถูกตั้งคำถาม. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://adaybulletin.com/know-mahamangkorn-overly-generous/53117.

สุพัตรา ห.เพียรเจริญ. (2563). การเผยแพร่วรรณคดีจีนสมัยใหม่ในปัจจุบัน: วิเคราะห์ผ่านพิพิธภัณฑ์นักเขียน “หลู่ซวิ่น” (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

หลี่ เต๋อจิน และ เฉิง เหม่ยเจิน. (2563). ไวยากรณ์จีน สำหรับคนไทย (อารีย์ รุ่นพระแสง, ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หมื่นอักษร.

อาศรมสยาม-จีนวิทยา. (2557). 戴绿帽子. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565, จาก http://chinese2u.blogspot.com/2016/05/lu-maozi.html.

อาศรมสยาม-จีนวิทยา. (2563). สำนวนยอดฮิตติดปากชาวจีน. กรุงเทพฯ: ออล บุ๊คส์.

Niran Kasri. (2020). ไม่ดูตาม้าตาเรือ หมายถึงอะไร. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.blogsdit.com/2020/01/checkmate.

Xu, Z., & Ying, J. (2019). WAIGUO REN SHUO SHUYU. (10th ed.). Beijing: Beijing Language And Culture University Press.

Yao, S. (2560). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ “มนุษย์เป็นสัตว์”: กรณีศึกษาสมญานามในวรรณกรรมจีนเรื่อง水浒传/ʂʰuei214xu214tʂuan51/(ซ้องกั๋ง). วารสารอักษรศาสตร์, 46(2), 1-43.

隔离学中文. (2564). กักตัวเรียนภาษาจีน. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2565, จากhttps://www.facebook.com/watch/?v=3820029871451638.