การศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อในระดับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น

Main Article Content

วรวุฒิ ตัถย์วิสุทธิ์
ชาญณรงค์ อินทรประเสริฐ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และ 2) ศึกษาความจำเป็นและความสำคัญของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสำรวจ ความต้องการในการศึกษาต่อระดับดุษฎีบัณฑิต ความต้องการในการศึกษาต่อระดับดุษฎีบัณฑิตแยกเป็นรายด้าน ความจำเป็นในการเปิดสอนหลักสูตร และความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร โดยหาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 ข้อมูลที่ได้ นำมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความต้องการศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจมีความต้องการให้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เชิญอาจารย์พิเศษจากต่างประเทศร่วมสอน และศึกษาดูงานในต่างประเทศ ในด้านความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรนี้พบว่า หลักสูตรจะช่วยพัฒนาองค์กร/หน่วยงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ความจำเป็นและความสำคัญในการเปิดสอนหลักสูตรนี้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กรุงเทพฯ: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สุมิตร สุวรรณ และ จันทิมา จำนงค์นารถ. (2554). ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิต ศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันตก. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

อานันท์ นิรมล, ชัชวาล ชุมรักษา และ ขรรค์ชัย แซ่แต้. (2560). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 6(1), 164-193.

Bock, D. E., Poole, S. M., & Joseph, M. (2014). Does branding impact student recruitment: A critical evaluation. Journal of Marketing for Higher Education, 24(1), 11-21. http://doi.org/10.1080/0884124.2014.908454.

Lau, M. M. Y. (2016). Effects of 8Ps of services marketing on student selection of self-financing sub-degree programmers in Hong Kong. International Journal of Education Management, 30(3), 386-402. http://doi.org/10.1180/IJEM-01-2014-0005.

Verghese, A., & Kamalanabhan, T. J. (2015). Attributes influencing information search for college choice: An exploratory study. International Journal of Business Innovation and Research, 9(1), 34-51. http://doi.org/10.1504/IJBIR.2014-065952.