การตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อข้าวเหนียวของผู้บริโภค จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชลิดา ศรีสุนทร
ดารณี ดวงพรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวของผู้บริโภค จังหวัดอุดรธานี โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในจังหวัดอุดรธานี ใช้วิธีสุ่มแบบสะดวก 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาปริญญาตรี อาชีพเจ้าของธุรกิจ รายได้เฉลี่ย 15,000–25,000 บาทต่อเดือน จำนวนสมาชิกในครอบครัว 3-4 คน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวเหนียวของผู้บริโภคจังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการสื่อสารแบบปากต่อปาก ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าของข้าวเหนียว ได้แก่ การรับรู้ถึง
คุณค่าที่ได้รับ การเชื่อมโยงตราสินค้า และคุณภาพที่ถูกรับรู้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์

ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิลมิกา เจริญทนัง. (2551). การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการซื้ออาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ภัทรวดี เอี่ยมศุภโชค (2561).การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำหอมปรับอากาศในรถยนต์ของพนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

นภาพร ภู่บุบผา, นิตนา ฐานิตธนกร และเกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์. (2563). ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี และสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อกล้องติดรถยนต์ของผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 15 บูรณาการงานวิจัย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ปัญชลี สังขรัตน์ (2554). การรับข้อมูลจากการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและรูปแบบการดำเนินชีวติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ (Functional Drink) ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมบูรณ์ ภุมรินทร์(2559).การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและคุณค่าตราสินค้ามีผลต่อการตัดสินใจ ซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมปรารถนา พรหมช่วย. (2552). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของคลินิกศัลยกรรม ความงาม เมโกะคลินิก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย. (ม.ป.ป.). สืบค้นจากhttp://www.thairiceexporters.or.th/rice_profile.htm.

สุดารักษ์ วงษ์เจริญ. (2557). คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อความภักดีในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Blackmore. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity : Capitalizing on the value of a brand name. New York : Free.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.