แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

หวานใจ หลำพรม
สุรศักดิ์ โจถาวร
อิศรา ศิรมณีรัตน์
พิมพ์นภัส ภูมิกิตติพิชญ์
ณัฏฐกิตติ์ เอี่ยมสมบูรณ์
นิศากร สิงหเสนี
อารีวรรณ หัสดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นแบบผสมผสาน (Mixed research method) โดยมีกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสังคมกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 434 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและการประชุมกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน ได้แก่ การใช้สถิติไคสแควร์ (chi-square) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า ระดับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ปัจจัยส่วนบุคคล เพศและชั้นปี พบว่า มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (chi-square เท่ากับ 0.009 และ 0.019) ผลการสังเคราะห์แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน ด้านการประยุกต์นวัตกรรมเพื่อการรณรงค์ปลูกจิตสำนึก ด้านนโยบายและบริการ และด้านการส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2551). แผนหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. (2560). พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในขณะท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 6(1), 24-32.

นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. (2554). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณิภา เห็มสมัคร. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในโรงเรียนบ้านหนองกุงวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพฑูรย์ พิมดี. (2559). พฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา: การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 9(3), 317-326.

สาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์. (2565). สถิตินักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสังคมกับสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565. ปทุมธานี: สาขาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Anthony, C. & Thomas, D. A. (2020). Organizational Learning: A Theory of Action Perspective. Reading, M.A.: Addison-Wesley.

Knapp, D. (2000). The Thessaloniki declaration: A wake-up call for environmental education. The Journal of Environmental Education, 31(3), 32–39.

McKeown-Ice, R. (2000). Environmental education in the United States: A survey of preservice teacher education programs. The Journal of Environmental Education, 32(1), 4–11.

Pollution Control Department. (2017). Draft of Water Quality Management Strategy in Thailand (2017-2036). Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.

Songsoonthornwong, C. (2007). Participative Behaviors in Natural Resources and Environmental Conservation of Hotel Personnel: A case study in the 4 and 5- Star Hotel in Bangkok. Bangkok: Dusit Thani College.

Tal, T. (2010). Pre-service teachers’ reflections on awareness and knowledge following active learning in environmental education. International Research in Geographical and Environmental Education, 19(4), 263–276.

Tuncer, G., Tekkaya, C., Sungur, S., & Cakiroglu, J. (2009). Assessing pre-service teachers’ environmental literacy in Turkey as a mean to develop teacher education programs. International Journal of Educational Development, 29(4), 426–436.

Ute, J. D., & William, C. (2020). Environmental concern and environmental purchase intentions: The mediating role of learning strategy. Journal of Business Research, 68(9), 1974-1981.