แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านกรณีศึกษา: ตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

นำพล แปนเมือง
ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์
เพชรรัตน์ รัตนชมภู

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในตำบลโป่งเปือย อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และ เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่าบริบทของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านในตำบลโป่งเปือยในปัจจุบันชุมชนยังคงมีการใช้สมุนไพรเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่การดำรงชีพ โดยมีหมอยาสมุนไพร การใช้สมุนไพรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ มีการสร้างอาชีพจากสมุนไพรแก่ชุมชนรวมถึงการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสมุนไพร และปลูกสมุนไพร โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐที่ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนแนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรพื้นบ้านสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมฐานรากในตำบลโป่งเปือย พบว่าภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมองค์ความรู้สมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มีการจัดตั้งกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านในชุมชนรวมถึงส่งเสริมการปลูกสมุนไพร แต่เพื่อการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควรได้รับการส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มดังนี้ 1) อบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน 2) ส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์แบบใหม่และการตลาดออนไลน์ 3) ส่งเสริมการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และ 4) ส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้านสู่ชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

จันทร์จิรา ตรีเพชร, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา และ วราวุฒิ มหามิตร. (2564). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรมจังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 213-224.

จันทร์ทิรา เจียรณัย, ณัฐฐิตา เพชรประไพ, นรีลักษณ์ สุวรรณโนบล, ศรัญญา จุฬารี, จันทกานต์ กาญจนเวทางค์, นฤมล สิงห์ดง, วาริธร ประวัติวงศ์ และ กชกร เพียซ้าย. (2557). การศึกษารวบรวมข้อมูลความหลากหลายของสมุนไพรภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรวมทั้งตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณในพื้นที่เขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร และชุมชนใกล้เคียงภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2544). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอน พลับลิชชิง.

ชาญชัย มะโนธรรม. (2558). ศึกษาการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ตามแนวทางของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1), 133-148.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: สาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ดิษฐพล ใจซื่อ, ณัฐพร คำศิริรักษ์ และ อังศวีร์ จันทะโคตร. (2564). ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(2), 251-264.

ประพัสสร บัวเผื่อน, นภาลัย บุญคำเมือง และ ชญานันท์ ศิริกิจเสถียร. (2565). การศึกษาภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น เขาโกรกปลากั้ง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารพิกุล, 20(1), 349-363.

พรพจน์ ศรีดัน. (2564). โครงการนวัตกรรมทางสังคมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การแข่งขันเชิงพาณิชย์ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา นาคีสังข์. (2559). จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนปวาเก่อญอบ้านแม่กองคาสู่การเป็นสินค้าชุมชน. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาบัณฑิตอาสาสมัคร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุเทพ พันประสิทธิ. (2555). เอกสารคำสอนวิชา “เศรษฐกิจพอเพียง”. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อภิฤดี หาญณรงค์ และ วิชัย โชควิวิวัฒน์. (2563). การศึกษาภูมิปัญญาท้อถิ่นและการแพทย์พื้นบ้าน กรณีศึกษา อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช สักทอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 7(1), 117-126.