กลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 2. ศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 3. กำหนดกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือน ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนที่ยินยอมเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาในระยะที่ 1 พบว่า ประชาชนในตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมในการบันทึกบัญชีครัวเรือนในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 คุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก ระยะที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความเข้าใจ และความตระหนักในการบันทึกบัญชีครัวเรือน คือ ผู้ทำบัญชีต้องมีความเต็มใจในการจัดทำบัญชี สร้างแรงกระตุ้นให้ทราบถึงประโยชน์ในการจัดทำ มีความรู้ความเข้าใจในการนำข้อมูลจากการบันทึกบัญชีมาวางแผนทางการเงินแล้วจะมีเงินออม ต้องลงมือปฏิบัติ ได้รับความร่วมมือของสมาชิกในครัวเรือน จัดเวลาการบันทึกบัญชีให้ตรงกัน เพื่อความเคยชินและกันการหลงลืม สรุป รายรับ รายจ่าย ในแต่ละสัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้แก้ปัญหาได้
Article Details
References
กัญจนพร อ่วมสำองค์. (2547). การศึกษาคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์กรมสามัญศึกษา เขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2552). พฤติกรรมการบันทึกบัญชีรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคลของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 1, 69-74.
ภาวินีย ธนาอนวัช. (2556). บัญชีครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชีวิตที่เพียงพอ (รายงานการวิจัย). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). กรอบความคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/more_news.php?cid=15&filename=.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐาน กศน.ตำบล ปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบ.