เสริมสร้างการค้นพบความต้องการในตัวเองและจิตวิญญาณความเป็นครู ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน

Main Article Content

อิสฬิยาภรณ์ วรกิตตนนท์
อรรถสิทธิ์ เกษคึมบง
กฤตภาส วงค์มา
ปิติญา สุธีรพันธุ์
พรพิมล ศิวินา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการที่แท้จริงของการเรียนและจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (Systematic sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 0.93 และมีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.56) (S.D.=0.62) เมื่อแยกรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษาหน้าที่ครูก่อนฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.59) (S.D.=0.60) รองลงมาด้านความเป็นครูอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.58) (S.D.=0.63) และด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.55) (S.D.=0.63) ตามลำดับ นักศึกษาในหลักสูตร จำนวน 139 คน ร้อยละ 96 ค้นพบความต้องการที่แท้จริงของตนเองในการศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อประกอบอาชีพครูในอนาคต นักศึกษายังกล่าวอีกว่า กิจกรรมการศึกษาหน้าที่ครูก่อนฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับโรงเรียน ทำให้ได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และการปฏิบัติงานในฐานะครูตั้งแต่ปีแรกของการเป็นนักศึกษา ประสบการณ์ที่ได้จากกิจกรรม ยังสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนในหลักสูตร และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า กิจกรรมนี้ช่วยเสริมสร้างจิตวิญญาณความเป็นครูของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย หวังมีจงมี และ องอาจ นัยพัฒน์. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสาร HR intelligence, 12(2), 47-63.

ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง, ดุษฎี โยเหลา, ปกรณ์ สิงห์สุริยะ และ นิยะดา จิตต์จรัส. (2555). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 18(1), 55-65.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ, พระครูโสภณพุทธิศาสตร์, พระครูโอภาสนนทกิตติ์, สมศักดิ์ บุญปู่ และ พีรวัฒน์ ชัยสุข. (2562). จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 31-37.

ไพศาล ริ้วธงชัย, สุวารีย์ วงศ์วัฒนา, ภคพร วัฒนดำรง และ จีรภัทร ใจอารีย์. (2541). ความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในเขตจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัย (รายงานวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 123-128.

สํานักงานเลขาธิการครุสภา. (2558). การดำเนินงานการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

Woragittanont, I., Wannathong, N. & Phengsawat, W. (2019). Guidelines for Building a Teacher Spirit of English Pre-Service Teachers with the Pre-Practicum Activity and the Satisfaction of Pre-Service Teachers, English Teachers, and the School Director. In Proceeding of the 10th International Science, Social Science, Engineering and Energy Conference (I-SEEC 2019), pp. 1-11. Sakon Nakhon: Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus.